Page 72 - เล่มแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2564
P. 72

69


                   2.1.2 สถานการณยางพารา

                          ยางพาราของประเทศไทย ในป 2560 เนื้อที่กรีดได 19.22 ลานไร เพิ่มขึ้นจาก 18.47 ลานไร ในป

                   2559 รอยละ 4.09 ผลผลิต 4.51 ลานตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.34 ลานตัน ในป 2559 รอยละ 3.73 และผลผลิตตอ
                   ไร 234 กิโลกรัม ลดลงจาก 235 กิโลกรัม ในป 2559 รอยละ 0.43 เนื้อที่กรีดไดเพิ่มขึ้น  เนื่องจากยางพาราที่

                   ปลูกเมื่อป 2554 เริ่มกรีดไดในป 2560 เปนจํานวนมาก โดยปลูกแทนพื้นที่พืชไร ไมผล พื้นที่นา และในบาง

                   พื้นที่มีการโคนยางพาราที่อายุมากแลวปลูกใหม สําหรับผลผลิตตอไรลดลง เนื่องจากภาคใตที่เปนแหลงผลิต
                   สําคัญมีจํานวนวันกรีดลดลง เพราะชวงปลายป 2559-2560 มีฝนตกตอเนื่อง แตอยางไรก็ตามผลผลิตภาพรวมทั้ง

                   ประเทศเพิ่มขึ้นตามเนื้อที่กรีดไดเพิ่มขึ้น
                          การตลาด

                          ของโลก

                             ในชวง 5 ปที่ผานมาเนื้อที่ปลูกยางพาราของโลกเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 77.98 ลานไร
                   ในป 2557 เปน 89 ลานไร ในป 2561 หรือเพิ่มขึ้นรอยละ 4 ตอป สําหรับผลผลิตยางพาราของโลกเพิ่มขึ้นจาก

                   12.14 ลานตัน ในป 2557 เปน 14.59 ลานตัน ในป 2561 หรือเพิ่มขึ้นรอยละ 4.79 ตอป เนื่องจาก ยางพาราเปน

                   พืชเศรษฐกิจที่ใหผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจอื่น จึงจูงใจใหมีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นอยาง
                   ตอเนื่องใน 6-7 ปที่ผานมา โดยเฉพาะในประเทศผูผลิตหลักสงผลใหเนื้อที่เปดกรีดเพิ่มมากขึ้น

                          ประเทศผูผลิตยางพารารายใหญของโลก 3 ประเทศ ไดแก ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในป 2561

                   มีเนื้อที่ปลูกยางพารา รวม 49.87 ลานไร คิดเปนรอยละ 56.03 ของเนื้อที่ปลูกยางพาราของโลกและมีผลผลิต
                   รวม 8.94 ลานตัน คิดเปนรอยละ 61.27 ของผลผลิตโลก โดยอินโดนีเซียเปนประเทศที่มีเนื้อที่ปลูกยางพารา

                   มากที่สุดในโลก มีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องรอยละ 0.55 ตอป จาก 22.45 ลานไร ในป 2557
                   เปน 22.94 ลานไร ในป 2561 แต มีผลผลิตมากเปนอันดับ 2 ของโลกรองจากไทย โดยผลผลิตมีแนวโนม

                   เพิ่มขึ้นรอยละ 3.85 ตอป จาก 3.15 ลานตัน ในป 2557 เปน 3.61 ลานตัน ในป 2561 สําหรับมาเลเซียมีเนื้อ
                   ที่ปลูกเปนอันดับ 4 ของโลก รองจากอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม โดยมีเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นรอยละ 0.69 ตอป

                   จาก 6.54 ลานไรในป 2557 เปน 6.77 ลานไร ในป 2561 ในขณะที่ผลผลิตลดลงรอยละ 3.26 ตอป จาก

                   0.67 ลานตัน ในป 2557 เหลือ 0.56 ลานตัน ในป 2561


                          ของไทย
                          ในชวง 5 ป ที่ผานมา ประเทศไทยมีเนื้อที่กรีดเพิ่มขึ้นรอยละ 2.40 ตอป โดยเพิ่มขึ้นจาก 18.16 ลาน

                   ไร ในป 2557 เปน 20.11 ลานไร ในป 2561 ในขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 4.33 ลานตัน ยางแหง  ในป 2557

                   เปน 4.77 ลานตัน ยางแหง ในป 2561 หรือเพิ่มขึ้นรอยละ 2.19 ตอป ในขณะที่ผลผลิตตอไรลดลงจาก 243
                   กิโลกรัมตอไร (ยางดิบ) ในป 2557 เหลือ 242 กิโลกรัมตอไร (ยางดิบ) ในป 2561 หรือลดลงรอยละ 0.21 ตอ

                   ป โดยเนื้อที่กรีดไดและผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในชวงป 2553-2554 ราคายางพาราอยูในระดับสูงจูงใจให

                   เกษตรกรขยายเนื้อที่ปลูกโดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปจจุบันประเทศไทยมีเนื้อ
                   ที่ปลูกยางพารามากเปนอันดับ 2 ของโลกรองจากอินโดนีเซีย แตไทยเปนประเทศที่มีผลผลิตยางมากที่สุดของ

                   โลก ในชวง 5 ปที่ผานมา ตนทุนการผลิตยางแผนดิบของเกษตรกรลดลงจาก 16,017.84 บาทตอไร ในป
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77