Page 34 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 34

บทที่ 2

                                    สรุปความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่


                  2.1 การประมวลปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่

                       การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาจังหวัดด้านต่างๆ รวมทั้งการวิเคราะห์วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์
                  ปัญหาและความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ จะทําให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจบริบท
                  ของจังหวัดและปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต ผลการวิเคราะห์ศักยภาพ
                  จะถูกนํามาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนดแนวทางและเป้าหมายการดําเนินงาน รวมทั้งกําหนด
                  กลยุทธ์และแผนงานโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการดําเนินงาน การที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม
                  ในการทําความเข้าใจศักยภาพจังหวัดร่วมกัน จะช่วยสร้างความเห็นพ้องต้องกันและความเข้าใจอันดี

                  ในการดําเนินงานพัฒนาจังหวัดต่อไปในอนาคต ดังนี้
                       2.1.1 ผลสรุปการระดมความคิดเห็น (Focus group)
                       การระดมความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ในการประชุมคณะทํางานสนับสนุนการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด
                  ตามคําสั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ 1189/2560 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2560 โดยมอบหมายหัวหน้าคณะทํางานราย

                  สาขา จํานวน 5 สาขา  ได้แก่ 1) สาขาพลังงาน  2) สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  3) สาขาสังคมและ
                  คุณภาพชีวิต   4)  สาขาโครงสร้างพื้นฐาน  5) สาขาเศรษฐกิจ  ซึ่งได้จัดประชุมคณะทํางานรายสาขา  เมื่อวันที่ 23
                  มิถุนายน – 25 กรกฎาคม พ.ศ.2560  ประกอบกับการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนเพื่อจัดทํา
                  ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)  เมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2560 ซึ่งมี
                  ผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้
                             1)  สาขาพลังงาน โดยพลังงานจังหวัดฯ เป็นหัวหน้าคณะทํางานดําเนินการ ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุป

                  แนวทางการพัฒนาและโครงการสําคัญด้านพลังงาน ดังนี้
                               จุดอ่อน
                               1.  จังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่มีประเด็นหรือเป้าประสงค์ที่ชัดเจนในด้านพลังงานทําให้การขับเคลื่อน

                  ให้บรรลุเป้าหมายที่สอดรับกับทิศทางด้านนโยบายของพลังงานในระดับประเทศขาดความต่อเนื่องและไม่มี
                  ประสิทธิภาพ

                               2. ทิศทาง และขอบเขตการดําเนินงานของยุทธศาสตร์ด้านพลังงานระดับจังหวัดไม่ชัดเจนและ
                  ขาดความต่อเนื่อง

                               3. ขาดการบริหารจัดการด้านพลังงานและบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมี
                  ประสิทธิภาพ

                               4.  งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อสนับสนุนแผนงาน/โครงการด้านพลังงานในพื้นที่จังหวัดมี
                  จํานวนจํากัด

                               5. ขาดรูปแบบเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานที่ชัดเจนและได้มาตรฐานในการ
                  เผยแพร่



                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 31
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39