Page 29 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 29

จากการสํารวจทรัพยากรดิน ขอใช้ข้อมูลจาก ภูมิสารสนเทศดินและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน กรมพัฒนา
                  ที่ดิน (กรกฎาคม 2558) พบว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทรัพยากรดินหลากหลายประเภท แต่ลักษณะของดินส่วน

                  ใหญ่ในจังหวัดเป็นกลุ่มชุดดินที่ 62 ซึ่งมีลักษณะดินดังกล่าวครอบคลุ่มพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
                  ถึง 2,833,838.75 ไร่ คิดเป็นร้อยละของพื้นที่จังหวัด ร้อยละ 33 ของพื้นที่จังหวัด   โดยลักษณะของดินที่พบ
                  ประกอบไปด้วยพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35%  ดินที่พบในบริเวณดังกล่าว มีทั้งดินลึกและดินตื้น
                  ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของดินต้นกําเนิดในบริเวณนั้น
                  มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ
                  ป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้น หลายแห่งมีการทําไร่เลื่อนลอย โดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ํา ซึ่งเป็นผล

                  ทําให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน จนบางแห่งเหลือแต่หินพื้นโผล่ ได้แก่ ชุดดินลาดชันเชิงซ้อน (Sc) กลุ่มชุดดินนี้
                  ไม่ควรนํามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ควรสงวนไว้
                  เป็นป่าตามธรรมชาติ เพื่อรักษาแหล่งต้นน้ําลําธาร ซึ่งปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินของลักษณะดินประเภทนี้ คือ มี
                  การกัดกร่อนของดินได้ง่าย ทําให้ไม่เหมาะสมที่จะนํามาใช้ในการเพาะปลูกพืช เนื่องจากเป็นดินตื้น มีหินโผล่ที่ผิว

                  ดินและพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน มีความลาดเทเฉลี่ยเกิน 35%  ง่ายต่อการชะล้างพังทลายของดิน จึงเหมาะสมที่จะ
                  รักษาไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและเป็นพื้นที่ต้นน้ําลําธาร
                       การใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่เป็นการใช้ประโยชน์ในรูปแบบของพื้นที่การทํา

                  การเกษตร ปัจจุบัน ปี 2559 มีการใช้พื้นที่ถึง 5,058,699 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.63 ของพื้นที่จังหวัด โดยพื้นที่การ
                  ทําการเกษตรส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ในการปลูกยางพาราและปาล์มน้ํามัน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
                  นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในการปลูกพืชผลไม้ เช่น มังคุด เงาะ ทุกเรียน ฯลฯ

                       2) ปัญหา
                       ดินที่มีปัญหาด้านการเกษตร
                       จากรายงานของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ที่มีปัญหาทรัพยากรดินรวม 3,309,121
                  ไร่ ประกอบด้วย ปัญหาดินตื้น 2,764 ไร่ ดินทราย 7,378 ไร่ ดินอินทรีย์ 1,472 ไร่ ดินเปรี้ยวจัดในระดับลึกปาน

                  กลาง 17,652 ไร่ ดินเปรี้ยวจัดในระดับลึกปานกลางที่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดินเปรี้ยวจัด 136,476 ไร่ ดินเลน
                  เค็มชายทะเลที่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดินกรดกํามะถัน 155,629 ไร่ และพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน 2,878,029 ไร่
                  ผลกระทบที่เกิดขึ้นผลกระทบของปัญหา ทําให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายหรือพื้นที่ไม่สามารถใช้
                  ประโยชน์ด้านการเกษตรได้
                       ดินเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน
                       บริเวณพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน ได้แก่ พื้นที่บริเวณที่มีความลาดชันมากกว่า 35 องศา ซึ่ง

                  เป็นผลมาจากชะล้างพังทลายของน้ําฝน อันเป็นผลมาจากการขาดพืชปกคลุมดิน เนื่องมาจากปัญหาการลักลอบตัด
                  ไม้ทําลายป่า การแผ้ว ถาง ทําลายป่า การบุกรุกที่ดินเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นต้น ผลกระทบที่เกิดขึ้น แร่ธาตุและ
                  ธาตุอาหารในดินถูกชะล้าง การสูญเสียดิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ
                       การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเขตชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น

                       จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน  ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เป็นชุมชนเมือง เพื่อใช้เป็นที่อยู่
                  อาศัย และเพิ่มพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตเมือง ทําให้เกิดผลกระทบในเรื่องของอุทกภัย ดินเสื่อม
                  คุณภาพ เป็นต้น



                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 26
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34