Page 26 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 26

สามารถชมทิวทัศน์รอบตัวเมืองสุราษฎร์ได้โดยรอบ และเป็นที่ตั้งของ พระธาตุศรีสุราษฎร์ในพระบรม
                  ราชูปถัมภ์  สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นปูชนียสถานองค์แรกของชาวบ้านดอน ต่อมาพระธาตุชํารุดมีรอยร้าวที่ฐาน

                  พระธาตุจึงถูกรื้อแล้วสร้างขึ้นใหม่เป็นทรงสูงเรียวลักษณะคล้ายลําเทียน นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

                       สถานที่ฝึกลิง “วิทยาลัยฝึกลิงเพื่อการเกษตร” มีการสาธิตและบรรยายหลักสูตรการฝึกลิงกัง

                       ถ้ําขมิ้น ตั้งอยู่ที่อําเภอนาสาร เป็นถ้ําขนาดใหญ่โตมีหินงอกหินย้อยสวยงาม และเป็นที่ศึกษาวิจัยทางด้าน
                  โบราณคดี  ศาสนา  ธรณีวิทยาและสัตววิทยา



                  1.9. ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม

                  1.9.1 ศาสนา
                  ตารางแสดงร้อยละของประชากรที่นับถือและจํานวนศาสนสถาน

                   ศาสนา  ร้อยละของประชากร  วัด            มัสยิด      โบสถ์       โบราณสถาน  โบราณวัตถุ
                   พุทธ     97.76               343 แห่ง
                   อิสลาม 1.82                             46 แห่ง
                   คริสต์   0.51                                       72 แห่ง
                   อื่นๆ                                                           191 แห่ง      2,378 ชิ้น

                  ที่มา: สํานักงานวัฒนธรรมสุราษฎร์ธานี (พฤษภาคม 2560)
                       ประชากรโดยส่วนใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97.67 และมีวัดจํานวนมากถึง 343
                  แห่ง ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.82 และมีมัสยิด จํานวน 46 แห่ง ที่เหลือนับถึงศาสนาคริสต์และอื่นๆ
                  1.9.2 ประเพณีและวัฒนธรรม

                       ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาว มีอีกชื่อ คืองานเดือนสิบเอ็ด  ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับเทศกาล
                  ออกพรรษา         กิจกรรมที่สําคัญได้แก่การประกวดเรือพระ ซึ่งจะมีทั้งรถพนมพระ และเรือพนมพระ
                  ซึ่งรถและเรือพนมพระ อาจจะตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลัก หรือฉลุไม้  ตกแต่งจําลอง เสมือนฉาก
                  ที่พระพุทธเจ้ากลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในงานพิธีจะใช้คนลาก เชื่อว่าผู้ที่ได้ร่วมลากจูงรถหรือเรือพนมพระจะได้
                  อานิสงค์หลายประการ
                       การจัดพุ่มผ้าป่าเป็นการจําลองพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแสดงออกเป็นตอนๆ ด้วยการนําต้นไม้หรือกิ่งไม้

                  ประดับกับหลอดไฟสีต่างๆ  บ้างก็จะจัดอุปกรณ์อื่นร่วมประกอบฉาก ทั้งการเขียนภาพ ปั้นรูปดินเหนียว  อุปกรณ์
                  ประกอบฉากจะไม่นิยมนําสิ่งมีชีวิตมาจัดประกอบฉาก  เพราะเชื่อว่าเป็นการทรมานสัตว์ และจะไม่ได้รับอานิสงค์
                  และตกแต่งด้วยเครื่องอัฐบริขาร เพื่อในเช้าวันรุ่งของวันออกพรรษาจะได้นิมนต์พระมาทําพิธีทอดผ้าป่า

                       ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เงาะโรงเรียน เงาะมีความแตกต่างจากเงาะที่อื่น คือ หวาน และ
                  กรอบ ซึ่งนับเป็นความภูมิใจของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวจังหวัด
                  สุราษฎร์ธานีจึงจัดให้มี  การนําผลผลิตจากเงาะโรงเรียนและผลผลิตอื่นๆ มาจําหน่ายและตั้งชื่อว่า  งานวันเงาะ

                  โรงเรียน โดยจะจัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี



                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 23
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31