Page 31 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 31

1.11.3 แร่ธาตุ

                       ทรัพยากรแร่
                       จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทรัพยากรแร่ ที่สําคัญหลายชนิด พบกระจายตัวทั่วบริเวณตอนกลางลงมาทาง
                  ทิศใต้ของจังหวัด และบริเวณเกาะต่างๆ ของจังหวัด แหล่งแร่ที่สําคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ หินปูน (หินปูน
                  เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ และหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ) ดีบุก ยิปซัม แบไรต์
                  ฟลูออไรต์ โดโลไมต์ และถ่านหิน

                       จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการผลิตแร่ยิปซัมเป็นหลัก และมีการผลิตทรัพยากรแร่ที่สําคัญอื่นๆ ได้แก่ หินปูนเพื่อ
                  อุตสาหกรรมก่อสร้าง และโดโลไมต์ทรัพยากรแร่ดังกล่าว สามารถจําแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ได้ 4 กลุ่ม คือ
                       1) กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ  ใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับงาน
                  ก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน เขื่อนชลประทาน ฝายกั้นน้ํา เป็นต้น แร่ในกลุ่มนี้ ได้แก่
                             - แหล่งหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกระจายตัวบริเวณเขาช่องลด  บริเวณ

                  ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอําเภอดอนสัก เขาครกเบื่อ เขาอุ้มลูก และเขาสามหน้าบริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้
                  ของอําเภอกาญจนดิษฐ์ และเขาถ้ําพระ อําเภอพนมสามารถจําแนกได้เป็น 3 แหล่ง มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 4.3 ตาราง
                  กิโลเมตร มีปริมาณสํารองแร่ที่มีศักยภาพเป็นไปได้ประมาณ 1,340 ล้านเมตริกตัน
                             - แหล่งหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระจายตัวบริเวณอําเภอพนม อําเภอ
                  ดอนสัก  อําเภอกาญจนดิษฐ์  และอําเภอนาสาร  มีทั้งหมดจํานวน 242  แหล่ง  มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 562 ตาราง

                  กิโลเมตร มีปริมาณสํารองแร่ที่มีศักยภาพเป็นไปได้ประมาณ 293,690 ล้านเมตริกตัน ดังตาราง

                  ตารางแสดงแหล่งหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
                                                               เนื้อที่    ปริมาณสํารอง
                       แหล่งหินปูน             ที่ตั้ง                                         หมายเหตุ
                                                                (ไร่)     (ล้านเมตริกตัน)
                        เขาคมน้อย       ต.ตลิ่งงาม อ .เกาะสมุย   40            -              ไม่มีการผลิต
                       เขานายายอุ่น        อ.กาญจนดิษฐ์         300           48.5          เป็นเขาหินปูนโดดๆ
                        เขาพับผ้า        ต.กรุด อ.กาญจนดิษฐ์    250            19           เป็นเขาหินปูนเล็กๆ
                        เขาไม้แดง      ต.พลายวาส อ.กาญจนดิษฐ์   55            7.7           เป็นเขาหินปูนเล็กๆ
                        เขายมโดย       ต.พลายวาส อ.กาญจนดิษฐ์   325           9.7           เป็นเขาหินปูนโดดๆ
                         เขาหลัก        ต.ทําเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม   490         22           เป็นเขาหินปูนสูงชัน
                     แหล่งหินบางสวรรค์   ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง   126           7.4            เป็นเทือกเขาเตี้ย
                    แหล่งหินบ้านทําเนียบ   ต.ทําเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม   221     12.5                 -

                  ที่มาสํานักงานทรัพยากรธรณีเขต 4 (สุราษฎร์ธานี), กรกฎาคม 2558

                       2) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมใช้เป็นวัตถุดิบขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิตต่างๆ
                  สําหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายสาขา  เช่น  อุตสาหกรรมอาหาร  ยา  อุตสาหกรรมกระดาษอุตสาหกรรมสี
                  พลาสติก อุตสาหกรรมหล่อโลหะ ดินสอสี ยาง แป้งนวลและใช้ทําชอล์ก แร่ที่สําคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่

                             - แหล่งแร่ดีบุกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบกระจายตัวเป็นแนวยาวบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
                  และบนเกาะในอ่าวไทย  ได้แก่  แหล่งดีบุกอําเภอบ้านนาสาร  อําเภอนาเดิม  อําเภอเวียงสระ  อําเภอกาญจนดิษฐ์



                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 28
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36