Page 32 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 32

อําเภอเกาะสมุย อําเภอเกาะพะงัน ส่วนแหล่งแร่ด้านตะวันตก ได้แก่ แหล่งดีบุกอําเภอคีรีรัฐนิคม และอําเภอพนม
                  แหล่งแร่ดีบุกในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่พบรวมจํานวน 15 แหล่ง    มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 441 ตารางกิโลเมตร

                             - แหล่งแร่ยิปซัมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเกิดแบบปฐมภูมิ มีทิศทางการวางตัวในแนวเกือบเหนือ-
                  ใต้  จากทางเหนือบริเวณตําบลปากแพรก  อําเภอดอนสัก  ทอดตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านตําบลป่าร่อน
                  อําเภอกาญจนดิษฐ์ ตําบลพรุพี ตําบล คลองปราบ อําเภอบ้านนาสาร ลงมาทางใต้ผ่านตําบลบ้านส้อง และตําบล
                  เข้านิพันธ์ อําเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถจําแนกได้เป็น 7 พื้นที่ มีเนื้อที่รวม 13.6 ตารางกิโลเมตร
                  ได้แก่
                               (1) แหล่งแร่ยิปซัมบ้านปากแพรก  อยู่ในเขตตําบลปากแพรก  อําเภอดอนสัก  เป็นแหล่งที่พบอยู่

                  เหนือสุดของเขตศักยภาพ  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 0.13  ตารางกิโลเมตร  มีปริมาณสํารองคงเหลือประมาณ 2
                  แสนเมตริกตัน
                                (2) แหล่งแร่ยิปซัมบ้านกงชัง บ้านกงตาก อยู่ในเขตตําบลป่าร่อน ตําบลข้างซ้าย อําเภอกาญจน
                  ดิษฐ์ แหล่งแร่ครอบคลุมพื้นที่ 100 ไร่

                                (3) แหล่งแร่ยิปซัมคลองหาเหนือ อยู่ในเขตตําบลลําพูน อําเภอนาสาร แร่มีความหนาเฉลี่ยตั้งแต่
                  15-25 เมตร มีปริมาณสํารองคงเหลือประมาณ 200,000 เมตริกตัน
                                (4) แหล่งแร่ยิปซัมคลองปราบ  อยู่ในเขตตําบลคลองปราบ  อําเภอนาสาร  สายแร่วางตัวในแนว
                  เกือบเหนือ-ใต้ แหล่งแร่ในบริเวณนี้เป็นแหล่งแร่ขนาดใหญ่  แร่ยิปซัมมีความบริสุทธิ์มาก
                                (5) แหล่งแร่ยิปซัมตําบลพรุพี  อยู่ในเขตอําเภอนาสาร  วางตัวต่อเนื่องจากแหล่งยิปซัมบ้านคลอง
                  ปราบมาทางทิศใต้ สายแร่วางตัวในแนวเกือบเหนือ-ใต้ มีชั้นแร่แอนไฮไดร์ตรองรับอยู่ด้านล่าง

                                (6) แหล่งแร่ยิปซัมตําบลบ้านส้อง อยู่ในเขตอําเภอเวียงสระ สายแร่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ความ
                  หนาเฉลี่ยประมาณ 20-25 เมตร          มีชั้นแร่แอนไฮไดร์ตรองรับที่ระดับความลึกจากผิวดินประมาณ
                  30 เมตร
                                (7) แหล่งแร่ยิปซัมตําบลเขานิพันธ์ อยู่ในเขตอําเภอเวียงสระ สายแร่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ความ

                  หนาเฉลี่ยประมาณ 20-25 เมตร โดยมีชั้นแร่แอนไฮไดร์ตรองรับอยู่ด้านล่าง
                                  - แหล่งแร่แบไรต์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบการกระจายตัวบริเวณทางตอนใต้ของอําเภอกาญจนดิษฐ์
                  เขาไม้ไผ่ บริเวณรอยต่อแดนอําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จํานวน 2 แหล่ง แหล่งแร่มีการเกิดเป็นแบบ
                  สายแร่ มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 4.5 ตารางกิโลเมตร
                                  - แหล่งแร่ฟลูออไรต์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบบริเวณทิศใต้ของอําเภอพุนพิน  บริเวณตําบล
                  ท่าสะท้อน เป็นแหล่งขนาดเล็ก พบเพียง 2 แหล่งมีเนื้อที่รวมกันประมาณ 36.57 ตารางกิโลเมตร

                       3) กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร ใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับผลิตปุ๋ย ปรับปรุงคุณภาพดิน แร่กลุ่มนี้ คือโดโลไมต์  แร่โดโล
                  ไมต์  พบได้ในบริเวณต่างๆ ได้แก่
                             - แหล่งโดโลไมต์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกระจายตัวอยู่ทิศตะวันออกของจังหวัด  ได้แก่  อําเภอกาญจนดิษฐ์
                  และอําเภอดอนสัก มีจํานวน 17 แหล่ง เนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 32 ตารางกิโลเมตร ปริมาณทรัพยากรหินสํารอง

                  มีศักยภาพเป็นไปได้ประมาณ 14,020 ล้านเมตริกตัน
                       4) กลุ่มแร่พลังงาน  ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมที่ใช้
                  พลังงานความร้อนไม่สูงนัก แร่กลุ่มนี้ คือ ถ่านหิน



                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 29
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37