Page 36 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 36

3) สาขาสังคมและคุณภาพชีวิต โดยพัฒนาสังคมและความมั่นคง  ของมนุษย์จังหวัดฯ เป็นหัวหน้า
                  คณะทํางานดําเนินการ ซึ่งที่ประชุมได้ ข้อสรุปแนวทางการพัฒนาและโครงการสําคัญด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ดังนี้

                               จุดอ่อน
                               1. อัตราส่วนพึ่งพิงผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมายถึงประชากรวัยทํางาน 100 คน ที่ต้องดูแล
                  ผู้สูงอายุในอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปีซึ่งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้เตรียมการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง เช่น การสร้าง
                  แรงงาน สร้างรายได้ พัฒนาอาชีพให้กับผู้สูงอายุเพื่อลดภาวะพึ่งพิง
                               2. งบประมาณที่ได้รับจัดสรร ยังไม่เพียงพอในการดําเนินการ
                               3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังขาดการวางแผนและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

                               4. มีอาชญากรรมหลากหลายรูปแบบเข้ามา และมีแนวโน้มสูงขึ้น
                               5. การประกอบการของโรงงานอุตสาหกรรมอาจส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมในการทํางาน
                  และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรอบโรงงาน
                               ปัญหา/อุปสรรค

                               1.ในระดับนโยบายสู่จังหวัดยังไม่ให้ความสําคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อดําเนินการอย่าง
                  ต่อเนื่องเป็นรูปธรรมเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว
                               2.การดําเนินการมีข้อจํากัดทางการเงิน พัสดุ
                               3.การดูแลรักษาความปลอดภัยซึ่งมีทั้งประชากรแฝง แรงงานต่างด้าว และนักท่องเที่ยว ที่เดินทาง
                  เข้ามาในพื้นที่มาก กําลังเจ้าหน้าที่ตํารวจมีไม่เพียงพอ
                               4.อุบัติเหตุที่เกิดจากการประกอบการ การร้องเรียน ได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการ

                  โรงงานของสถานประกอบการ
                               แนวทางการพัฒนา
                               1. สร้างงาน สร้างรายได้ พัฒนาอาชีพให้กับผู้สูงอายุเพื่อลดภาระพึ่งพิง (หอการค้าจังหวัดฯ เสนอ
                  โครงการ Smart Health Senior Society รองรับโครงการสมุนไพรแปลงใหญ่)

                               2. เน้นบทบาทของสภาเด็กและเยาวชน และ อปท. เพื่อแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชน ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
                               3. การน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต (Way of Life)
                               4. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยในโรงงานเพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน เสนอโดย
                  สํานักงานอุตสาหกรรม และการตั้งศูนย์ช่วยเหลือป้องกันบรรเทาภัยทางน้ําเสนอโดยหอการค้าจังหวัดฯ
                               5. การสร้างเมืองน่าอยู่ โดย อาจนิยาม เป็นเมืองสีเขียว การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม อารยสถาปัตย์
                  การใช้ที่ดิน อาคาร (ผังเมือง ผังชุมชน)

                               6.การปกครอง รับรู้สิทธิ ประชาชนในการดูแลตนเอง สร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง การมีส่วน
                  ร่วมอย่างแท้จริง

                               7.ด้านศาสนา วัฒนธรรม สถาบันทางสังคม และสื่อเป็นกลไกหลักในการอบรม ดูแลเด็กและ
                  เยาวชน สร้างอัตลักษณ์ของคนที่ดี การปลูกฝังจิตอาสา เป็นค่านิยมเมืองคนดี

                               8. ด้านสาธารณสุข วิเคราะห์ความต้องการตลาดและให้สถาบันการศึกษาผลิตบุคลากรรองรับ
                  รวมทั้ง ลดความเหลื่อมล้ําในสังคมเมือง และชนบทโดยสร้างการมีส่วนร่วม




                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 33
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41