Page 53 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 53

หากว่ากลุ่มจังหวัดมีความเข้มแข็ง อนาคตการจัดสรรงบประมาณจะไม่ใช่การจัดสรรตามกระทรวง (function) อีก
                  ต่อไป แต่เป็นการจัดสรรตามแผนปฏิบัติงาน (agenda) ทางเศรษฐกิจ

                       การสร้างนักรบเศรษฐกิจใหม่  ต้องมีการยกระดับผู้ประกอบการ SMEs สร้างนักธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่าง
                  ยิ่งเพิ่มจากพื้นฐานที่มีอยู่  ทั้งนี้ยังต้องมีการเริ่มต้นสิ่งใหม่ โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาที่ต้องสร้างหลักสูตรใหม่ๆ
                  ขึ้นมารองรับ  เพื่อพัฒนาให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่  แต่อาจจะต้องปรับปรุงกฎเกณฑ์บางอย่างที่ไม่เอื้อต่อการ
                  วางหลักสูตร ขณะเดียวกันต้องมีหน่วยงานสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ SMEs ทั้งการให้องค์ความรู้ สร้าง
                  ช่องทางทางเศรษฐกิจ และสร้างความร่วมมือระหว่างเอกชน รัฐบาล และสถาบันการเงิน
                       การลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Project)  เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน  ไม่ว่าจะ

                  เป็นการเร่งให้เกิดรถไฟรางคู่เชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคต่างๆในประเทศไทย  ทั้งนี้นอกจากเป็นการสร้างโครงข่าย
                  ทางโลจิสติกส์ให้ครอบคลุมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เกิดความเจริญตามมาระหว่างเส้นทาง
                  การลงทุนโดยใช้เงินเป็นจํานวนมากในโครงการใหญ่ๆนั้น ต้องเป็นลักษณะ PPP  คือ ร่วมมือกับเอกชน มีการ
                  ประมูลที่ถูกต้องโปร่งใส ใช้กําลังของเอกชนมาช่วยหนุนและขับเคลื่อนการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้

                  ไม่ใช่การลงทุนขนาดใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่รวมการลงทุนในท้องถิ่นและการลงทุนเพื่ออนาคตด้วย
                  ยกตัวอย่างเช่น เครือข่ายไอที ซึ่งอาจนําเอารูปแบบของสิงคโปร์โมเดลมาเป็นต้นแบบในแนวคิดเรื่องการรวบรวม
                  โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีทั้งหมดมาไว้ด้วยกัน (Smart City) โดยอาศัย โปรเจกต์ Smart Nation ซึ่งนําเอาระบบ
                  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งระบบมาเน้นในปัจจัยหลัก 3 ด้าน คือ ข้อมูลด้านสุขภาพและสาธารณสุข
                  ของประชากร  ข้อมูลด้านธุรกิจ  การค้า และธุรกิจ SMEs    และข้อมูลด้านการศึกษา ซึ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการ
                  ลงทุนเพื่ออนาคตอย่างแท้จริง

                       ในการดําเนินแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น ผู้นําท้องถิ่นทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด องค์การ
                  บริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ จึงมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนนโยบายลงสู่การปฏิบัติอย่าง
                  เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ผู้นําในการขับเคลื่อนนโยบายต้องมีความคิดริเริ่ม (Change Agent) ต้องสามารถจูงใจให้เกิดการ
                  พัฒนาและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคมได้


                  3.6 นโยบายการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด
                       จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ยึดนโยบายการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดที่สําคัญ ประกอบด้วย นโยบายของรัฐบาล

                  แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยแผนพัฒนาการ
                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศไทย 4.0 และทิศทางการพัฒนารายภาค (ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
                  สังคมแห่งชาติ) รวมถึง แผนรายสาขา/เฉพาะด้านต่างๆ เช่น แผนพัฒนาการเกษตร นโยบายโซนนิ่งภาคเกษตร
                  แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม แผน
                  แม่บทบริหารจัดการน้ํา ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ เขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงสร้างพื้นฐาน

                  ด้านคมนาคม สิ่งแวดล้อม (ป่าไม้ ขยะ หมอกควัน) ปรองดองสมานฉันท์ ผังเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการทํางาน
                  แบบเครือข่ายร่วมกันทุกภาคส่วน (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชนและภาคประชา
                  สังคม/ชุมชน) เพื่อร่วมกันกําหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัด รวมทั้งให้ความสําคัญกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เพื่อ
                  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน อย่างทั่วถึง




                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 50
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58