Page 49 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 49

2.2) แนวทางการพัฒนาเมืองสําคัญ ได้แก่ ส่งเสริมกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองศูนย์กลางการติดต่อธุรกิจ
                  ระหว่างประเทศ พัฒนาเมืองปริมณฑล ให้เป็นศูนย์กลางการบริการธุรกิจและการพาณิชย์ พัฒนาเมืองเชียงใหม่

                  และเมืองพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ ธุรกิจ สุขภาพ การศึกษา และธุรกิจดิจิทัล  เมืองขอนแก่น
                  และเมืองนครราชสีมาให้เป็นเมืองศูนย์กลาง การค้า การลงทุน การบริการสุขภาพ และศูนย์กลางการศึกษา เมือง
                  ภูเก็ตและเมืองหาดใหญ่ให้เป็นเมืองน่าอยู่และเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคม
                  และสิ่งแวดล้อม และพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งระบบรางในเมืองที่มีศักยภาพ อาทิ เมืองอยุธยา เมืองนครสวรรค์
                  เมืองขอนแก่นและเมืองทุ่งสง และบริเวณเมืองชายแดนที่มีศักยภาพ รวมทั้งบริเวณใกล้พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
                  ชายแดน อาทิ เมืองเบตง เมืองสะเดา เมืองพุน้ําร้อน เมืองอรัญประเทศ เมืองนครพนม เมืองหนองคาย เมืองเชียงของ

                       3. การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ
                             3.1) พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก พัฒนาฟื้นฟูพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นฐาน
                  การผลิตอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่ขยายตัวอย่างมีสมดุล มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ บน
                  พื้นฐานการมีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับจากชุมชน มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค

                  สาธารณูปการ บริการสังคม และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพและทั่วถึง สามารถสนับสนุนการดํารงชีวิตและ
                  การประกอบอาชีพของประชาชน ควบคู่กับการพัฒนาภาคการผลิตต่างๆ ได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน
                             3.2)  พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนเป็นประตูเศรษฐกิจ
                  เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและเกิดผลที่เป็นรูปธรรม ในพื้นที่เป้าหมายเขตพัฒนา
                  เศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 พื้นที่ ได้แก่ ตาก สระแก้ว สงขลา หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ตราด กาญจนบุรี
                  เชียงราย และนราธิวาส


                  3.4 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคสู่การปฏิบัติ
                       ภาคใต้

                       แนวทางการพัฒนาหลัก
                       1.  เสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตรให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพของห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสร้างรายได้
                  ให้กับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
                       แนวทางการพัฒนารอง ประกอบด้วย 4 ประเด็น
                             1. ยางพาราและปาล์มน้ํามัน มีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้
                             1.1) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลิตภาพการผลิตยางพาราและปาล์มน้ํามัน  ใน

                  พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ชุมพร ระนอง พังงา  กระบี่ ตรัง ภูเก็ต สตูล สงขลา ยะลา
                  ปัตตานี และนราธิวาส
                             1.2) สนับสนุนการวิจัยและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ยางพาราและปาล์มน้ํามัน
                  ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ชุมพร ระนอง พังงา  กระบี่ ตรัง ภูเก็ต สตูล สงขลา ยะลา

                  ปัตตานี และนราธิวาส
                             1.3)  ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยปรับระบบการผลิตเป็นเกษตรผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ใน
                  พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ชุมพร ระนอง พังงา  กระบี่ ตรัง ภูเก็ต สตูล สงขลา ยะลา
                  ปัตตานี และนราธิวาส



                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 46
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54