Page 51 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 51

6. ยกระดับจังหวัดระนองให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสปา จังหวัดชุมพรเป็นเมืองท่องเที่ยว
                  เชิงเกษตร และจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเมืองมรดกโลกและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

                       แนวทางการพัฒนาหลัก
                       3.  วางระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษา
                  สมดุลของระบบนิเวศให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ที่เป็นแหล่งต้นน้ําของภาค และพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการกัด
                  เซาะชายฝั่ง ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา และนราธิวาส
                       แนวทางการพัฒนารอง ประกอบด้วย 4 ประเด็น
                             1. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ํา

                             2. สนับสนุนการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
                             3. การสร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
                             4. การบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและผังเมืองอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการควบคุมกิจกรรม
                  บริเวณชายฝั่งทะเล

                       แนวทางการพัฒนาหลัก
                       4.  พัฒนาเมืองภูเก็ตและเมืองหาดใหญ่ให้เป็นเมืองน่าอยู่และเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการ
                  เปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อม
                       แนวทางการพัฒนารอง ประกอบด้วย 2 ประเด็น
                             1. สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ
                  การสื่อสารที่ทันสมัย

                             2. พัฒนาที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ ตลอดจนมีระบบบริหารจัดการขยะที่เหมาะสม
                       แนวทางการพัฒนาหลัก
                       5. พัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งระบบราง และบริเวณใกล้พื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน อาทิ เมืองทุ่งสง เมือง
                  สะเดา และเบตง

                       แนวทางการพัฒนารอง
                             1. สนับสนุนให้มีการจัดทําโครงการนําร่องที่ใช้แนวทางการจัดรูปที่ดิน การผังเมืองควบคู่กับการ
                  พัฒนาเมืองแบบประหยัดพลังงาน

                  3.5 แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย

                       จากการแถลงนโยบายการพัฒนาประเทศของรองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ณ วันที่ 27
                  สิงหาคม 2558 ได้กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศว่ายังไม่เลวร้ายเหมือนปี 2540 เศรษฐกิจของประเทศทุก
                  วันนี้ไม่ได้เข้าสู่ขั้นวิกฤต  หากแต่ถดถอยและขาดพลัง ทั้งนี้เป็นผลอันเนื่องมาจากตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาที่
                  ประเทศไทยพึ่งพาภาคการส่งออกเป็นตัวนําการพัฒนา เมื่อราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ํา เศรษฐกิจโลกซบเซา

                  อํานาจซื้อของเกษตรกรย่ําแย่ เกษตรกรและประชาชนส่วนใหญ่จึงได้รับผลกระทบส่งผลให้มีรายได้น้อย เมื่อไม่มี
                  อํานาจซื้อ การหมุนเวียนรายได้ทางเศรษฐกิจจึงหายไป วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ต้องทําธุรกิจ
                  กับกิจกรรมต่างๆทางเศรษฐกิจลําบากขึ้น เพราะไม่มีทุน ธนาคารพาณิชย์ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ เมื่อสถานการณ์เป็น
                  เช่นนี้ ความมั่นใจทางเศรษฐกิจจึงเริ่มเสื่อมถอย  ภาคเอกชนชะลอการลงทุน เพราะไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าอนาคต



                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 48
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56