Page 48 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 48

6. การเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Population) โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดนโยบาย
                  ประชากรและนโยบายของชาติเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและรองรับประชากรสูงอายุในอนาคตได้อย่างมี

                  ประสิทธิผล
                          7. การพัฒนาเพื่อเข้าสู่สังคมสีเขียว (Green Society) มุ่งกําหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                  ในรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม คุณภาพ
                  ชีวิต และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลในอนาคตโดยให้ความสําคัญกับการสร้าง
                  กลไกส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการนํามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและการขับเคลื่อน
                  ประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                          8. การพัฒนาเข้าสู่ความเป็นเมือง (Urbanization)  โดยให้ความสําคัญกับการเตรียมการเสริมสร้างขีด
                  ความสามารถในการบริหารจัดการเมืองตามระดับการพัฒนา การบริหารจัดการเมืองเพื่อสร้างความเข้มแข็งทาง
                  เศรษฐกิจและหลักประกันทางสังคมเมือง ตลอดจนเสริมสร้างความเป็นอิสระในการบริหารจัดการเมือง เพื่อรองรับ
                  การเติบโตเป็นเมืองน่าอยู่และเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

                          9. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี/ธรรมาภิบาล/การปรับปรุงการบริหารงานภาครัฐ โดยให้ความสําคัญ
                  กับการกําหนดกลไกการปรับปรุงโครงสร้างและการบริหารงานภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพนําไปสู่การสร้างความ
                  โปร่งใส (Transparency)  สร้างการมีส่วนร่วม (Participation)  และสร้างความร่วมมือ (Collaboration)  เพื่อให้
                  เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเป็นธรรมรวมทั้งเกิดผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

                  3.3 แนวทางสําคัญตามยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่พิเศษ

                       ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาที่มีความสําคัญสูงและ
                  สามารถผลักดันสู่การปฏิบัติ 3 แนวทาง ซึ่งมีสาระสําคัญ สรุปได้ดังนี้ คือ
                       1. การพัฒนาภาค สําหรับภาคใต้: พัฒนาเป็นฐานการสร้างรายได้ที่หลากหลาย

                             1.1)  เสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตรให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพของห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสร้าง
                  รายได้ให้กับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
                             1.2)  ยกระดับรายได้จากการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และกระจายรายได้จากกการท่องเที่ยว
                  สู่พื้นที่เชื่อมโยงรวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
                             1.3) วางระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อ
                  รักษาสมดุลของระบบนิเวศให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ที่เป็นแหล่งต้นน้ําของภาค ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                  นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา และนราธิวาส ตลอดจนพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะ
                  ชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา
                       2. การพัฒนาเมือง
                             2.1) แนวทางการพัฒนาหลัก พัฒนาเมืองศูนย์กลางของจังหวัดให้เป็นเมืองน่าอยู่สําหรับคนทุกกลุ่ม

                  ในสังคม โดยมีความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี เดินทางสะดวก ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการมี
                  คุณภาพและทั่วถึง และเน้นความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ ความหลากหลาย และศักยภาพของเมือง บนพื้นฐานการ
                  มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม





                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 45
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53