Page 78 - surat61
P. 78

บทที่ 4                                              ปัญหาสําคัญของจังหวัด





                สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



                   จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติสูง เนื่องด้วยลักษณะทาง
            กายภาพของภูมิประเทศที่หลากหลาย มีทั้งพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นแหล่งกําเนิดป่าชายเลนและสัตว์น้ําเศรษฐกิจ มี

            ผืนป่าที่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้มากมาย ซึ่งเป็นต้นกําเนิดแม่น้ําลําธารและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากนานาชาติ และมี
            แม่น้ําหลายสายซึ่งมีความสําคัญต่อการทําเกษตร จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารจัดการด้าน
            ทรัพยากรธรรมชาติโดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์อย่างสมดุล เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม
            รวมถึงวิถีชีวิตของประชาชน แต่ไม่ว่าจะเป็นสังคมชุมชนใดก็ตาม เมื่อมีประชากรจํานวนมากและอยู่อย่างหนาแน่น

            ย่อมเกิดปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากร เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้
            ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า มีปัญหาความเสื่อมโทรมของ
            ทรัพยากรธรรมชาติหลายประการ ได้แก่

                          1.  ปัญหาสภาพป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่งทะเลรอบอ่าวบ้านดอนมีความเสื่อมโทรม เนื่องจาก
            การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่คํานึงถึงประโยชน์ทางด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทําให้ขาดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู

                          2.  ปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง ซึ่งเป็น
            ปัญหาที่สอดคล้องและมีความต่อเนื่องกัน เพราะเมื่อพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และแหล่งน้ํา
            ของช้างป่ามีสภาพเสื่อมโทรมลง ช้างป่าจึงไม่สามารถอาศัยในป่าตามธรรมชาติได้ และรุกล้ําเข้าไปในที่ทํากินของ

            ประชาชน สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจํานวนมาก
                          3.  ปัญหาความเสื่อมโทรมของป่าพรุคันธุลี ตําบลคันธุลี อําเภอท่าชนะ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ําที่มี
            ความสําคัญระดับนานาชาติ (ตามประกาศคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 สิงหาคม 2543) และเป็นป่าพรุที่มีความหลากหลาย
            ทางชีวภาพสูงเป็นลําดับที่ 2 ของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ ปัจจุบัน พบว่า มีประชาชนเข้าไปบุกรุกและ
            ครอบครองพื้นที่มากขึ้น

                          4.  ปัญหาคุณภาพน้ําในแม่น้ําตาปี-พุมดวง และบริเวณชายฝั่งเสื่อมโทรม เนื่องจากการทําเกษตรและ
            อื่นๆ
                          5.  ปัญหาความเสียหายจากสถานการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งมีสาเหตุสําคัญประการหนึ่งจากการที่ชุมชนไม่มี

            การเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย ส่วนราชการที่มีภารกิจยังขาดเครื่องมือ
            อุปกรณ์ที่สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ พื้นที่เสี่ยงภัย อุทกภัยและดินโคลนถล่มในจังหวัด
            สุราษฎร์ธานี มีทั้งสิ้น 127 ชุมชน มีการดําเนินโครงการเตรียมความพร้อมชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันและบริหาร
            จัดการภัยพิบัติจากธรรมชาติโดยใช้ชุมชนเป็นฐานไปแล้ว 54 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 42.51 จึงมีความจําเป็นต้อง
            ดําเนินโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างเร่งด่วน

                          6.  ปัญหาด้านขยะ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่ไม่มีระบบกําจัดขยะมูลฝอยที่
            ถูกต้องตามหลักวิชาการ บางแห่งขาดความรู้ในการบริหารจัดการ และทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83