Page 81 - surat61
P. 81

69




                                    สถิติคดีป่าไม้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ.2557 - 2560


                            คดีที่เกิดขึ้น (คดี)   ตรวจยึดไม้กระยาเลย   ตรวจยึดไม้แปรรูป      พื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก   จํานวน
              ปี    ไม้หวง  บุกรุก  สัตว์  ของ  รวม   ต้น   ท่อน   ปริมาตร   แผ่น   เหลี่ยม   ซีก   ปริมาตร   ไร่   งาน   ตร.  ผู้ต้องหา
                    ห้าม   ป่า   ป่า   ป่า                                                              วา   (คน)
            2557    84    330    39    -   453   48  686   832.53  3,001   -     -   68.28  2,452   3   34   125
            2558    41    417    22   12   492   -   228   244.79  1,544   -     -   54.13  4,501   2   34    77
            2559    30    378    11    6   425   -   221   148.69  1,118   -     -   34.52  4,609   0   25    38
            2560    30    182    4     -   216   -   291   448.00  536     -     -   34.04  1,813   3   77    30
                                                   ที่มา : สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี, 2560


              ทรัพยากรสัตว์ป่า

                          สถานการณ์
                          จากการรวบรวมข้อมูล พบว่าในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี       มีทรัพยากรสัตว์ป่าที่สําคัญ
            จําแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทิ้นน้ําสะเทินบก อาศัยอยู่รวมกันไม่

            น้อยกว่า 640 ชนิด ใน 118 วงศ์ 34 อันดับ ซึ่งประกอบด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 127 ชนิด (ร้อยละ 19.91 ของ
            จํานวนชนิดสัตว์ทั้งหมด) ใน 43 วงศ์ 12 อันดับ นก จํานวน 380 ชนิด (ร้อยละ 59.56)                        ใน 64
            วงศ์ 18 อันดับ สัตว์เลื้อยคลาน จํานวน 95 ชนิด (ร้อยละ 14.73) ใน 15 วงศ์ 2 อันดับ และสัตว์สะเทินน้ําสะเทิน
            บก จํานวน 37ชนิด (ร้อยละ 5.80)  ใน 6  วงศ์ 2  อันดับ โดยสามารถแบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 127 ชนิด  นก

            380 ชนิด  สัตว์เลื้อยคลาน 95 ชนิด  สัตว์สะเทินน้ําสะเทินบก 37 ชนิด
                          นอกจากนั้นจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบชนิดสัตว์ที่หายาก หรือใกล้สูญพันธุ์ หรือสัตว์เฉพาะถิ่น ได้แก่
            สมเสร็จ กระทิง เสือโคร่ง พบในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง แมวลายหินอ่อน เลียงผา เก้งหม้อ สมเสร็จ ช้างป่า กระทิง
            พบในอุทยานแห่งชาติเขาสก ค่างแว่นถิ่นใต้ พบในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และพบพรรณพืชที่หายาก หรือใกล้

            สูญพันธุ์ หรือพืชเฉพาะถิ่น ได้แก่ เฟิร์นหรือกุ่ง (tree  fern, สูง 10 เมตร) กระโถนฤาษี บัวผุดพบในอุทยานแห่งชาติ
            แก่งกรุง บัวผุด ปาล์มหลังขาว ปาล์มพระราหู ตะเคียนชันตาแมว  ปรงป่าหรือตาลปัตรฤาษี พบในอุทยานแห่งชาติเขา
            สก จันทน์ผา สลัดได ยอป่า (พบบนเขาหินปูน) รองเท้านารีช่องอ่างทอง พบในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
                          ปัญหา

                          สืบเนื่องจากการบุกรุกพื้นที่เพื่อตัดไม้ทําลายป่า พืชผลอาสิน และการลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อนําไป
            ขยายพันธุ์ขายในตลาดมืด และการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม ส่งผลให้สัตว์ป่าหายากมีจํานวนลดลงจนเกือบสูญพันธุ์
            นอกจากนี้ยังมีการลักลอบการนําพันธุ์ไม้ที่หากยากออกมาจําหน่าย ทําให้พันธุ์ไม้ที่สําคัญมีปริมาณลดลง บางชนิดก็มี

            การสูญพันธุ์
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86