Page 83 - surat61
P. 83

71




            และพบหินยุคเทอร์เชียรี พื้นที่ด้านตะวันออกบริเวณอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นเป็นภูเขาหินแกรนิต และพบหินปูนยุค
            เพอร์เมียนกระจายอยู่ทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง เกาะสมุย เกาะพะงันและเกาะเต่าเป็นหินแกรนิต กลุ่มเกาะอ่างทองเป็น
            หินปูนยุคเพอร์เมียน ตามที่ราบลุ่มน้ําท่วมถึงและที่ราบชายฝั่งมีการทับถมของตะกอนยุคปัจจุบัน ธรณีวิทยาโครงสร้างมี
            กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยที่เป็นรอยเลื่อนมีพลังและมีโอกาสเคลื่อนตัวอีกครั้งพาดผ่านในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-

            ตะวันตกเฉียงใต้

              ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


                   การกัดเซาะชายฝั่ง
                          สถานการณ์
                          จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ที่ติดกับทะเลอ่าวไทยตอนกลาง มีพื้นที่ความยาวของชายฝั่ง
            ทะเลรวม 166.40 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นหาดทรายมีคลื่นสูง ณ ชายฝั่งพื้นที่บกเฉลี่ย 1 เมตร สูงสุด

            1.92 เมตร และบนเกาะ มีคลื่นสูงเฉลี่ย 0.73 เมตร สูงสุด 2.36 เมตร โดยมีลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งดังนี้

                                       ลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี


                                                     ลักษณะทางกายภาพของชายฝั่ง
                      รายการ                             หาดโคลนหรือ                         พื้นที่  ความยาว
                                        หาดทราย    %                    %     หาดหิน   %     อื่นๆ   รวม (กม.)
                                                             เลน
             ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย (17  1,162.90  100     626.90      100  239.50  100  25.90  2,055.20
             จังหวัด)
               จังหวัดสุราษฎร์ธานี       51.40    31       107.30      64      7.7      5      -     166.40
                                                   ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2560 (ข้อมูลปรับปรุงจากปี 2554)
                          การกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ตั้งแต่ภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนบน และภายใต้ฝั่งอ่าวไทยจะ
            เกิดขึ้นในทุกจังหวัดบริเวณพื้นที่ราบน้ําขึ้นถึงบริเวณป่าชายเลน บริเวณหาดทรายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่แหล่ง

            ท่องเที่ยวเขตอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย จากการสํารวจพบว่าการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ที่มีอัตราการกัด
            เซาะรุนแรงเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตร เกิดขึ้นใน 12 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร
            เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส และพื้นที่ที่มีอัตราการกัดเซาะ

            ปานกลางเฉลี่ย 1-5 เมตรต่อปี มี 16 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ
            สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และ
            นราธิวาส ทั้งนี้ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ําบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปากแม่น้ําท่าจีน
            จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและ มีการกัดเซาะขั้นรุนแรงมากที่สุด
                          ข้อมูลจากผลการศึกษาโครงการศึกษาแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตั้งแต่ปากแม่น้ํา

            เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ถึงปากแม่น้ําปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี 2546 ระบุว่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มี
            พื้นที่ที่มีการกัดเซาะจํานวน 1 อําเภอ คือ หัวหิน รวมระยะทางการกัดเซาะ 42 กิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ.2551
            พบว่าจังหวัดชุมพร มีพื้นที่ที่มีการกัดเซาะจํานวน 5 อําเภอ คือ อําเภอเมือง ปะทิว สวี หลังสวน และละแม รวม

            ระยะทางการกัดเซาะ 16.80 กิโลเมตร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ที่มีการกัดเซาะจํานวน 3 อําเภอ คือ อําเภอไช
            ยา ดอนสัก และท่าชนะ รวมระยะทางการกัดเซาะ 23.5 กิโลเมตร
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88