Page 82 - surat61
P. 82

70



                ทรัพยากรธรณี

                          สถานการณ์
                          ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแนวเทือกเขาเขาสูงทางด้านตะวันตก ซึ่งเป็น
            ส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช ตอนกลางของพื้นที่เป็นที่ราบและที่เนินลอนราบกว้างใหญ่ ส่วนด้านตะวันออก

            ของพื้นที่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย ทอดยาวตลอดด้านตะวันออกของจังหวัด ด้านตะวันออกเฉียงใต้มีแนว
            เทือกเขาขนาดเล็กแบ่งเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่จังหวัดรองรับด้วยหินแข็งอายุตั้งแต่
            505 ล้านปีจนถึงตะกอนปัจจุบัน มีทั้งหินตะกอน หินแปร หินอัคนี และตะกอนร่วน
                          พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีร้อยละ 80 รองรับด้วยหินตะกอน หินแปร และตะกอนร่วน สามารถจําแนก

            ย่อยเป็นหินตะกอนและหินแปร 11 หน่วย และตะกอนร่วน 9 หน่วย หินตะกอน เกิดจากการสะสมและตกตะกอนทับ
            ถมของเศษหิน ดิน ทราย ที่แตกหลุดหรือ ถูกชะละลายออกมาจากหินเดิมโดยตัวการตามธรรมชาติ เช่น น้ํา ลม ธาร
            น้ําแข็ง น้ําทะเล พัดพาตะกอน ไปทับถมในแอ่งสะสมตัว ตะกอนที่สะสมตัวมากขึ้นมีการกดทับอัดตัวกันแน่น การเชื่อม
            ประสานและกลายเป็น หินในที่สุด หินตะกอนบางประเภทเกิดจากการตกตะกอนโดยปฏิกิริยาทางเคมี เช่น หินปูน หิน

            โดโลไมต์ หินแปร เป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพของหินเดิมซึ่งเป็นได้ทั้งหินตะกอน หินอัคนี และ หินแปร ภายใต้
            อิทธิพลของความร้อนหรือความดัน หรือทั้งสองอย่าง กระบวนการแปรสภาพอาจทําให้เกิด การเรียงตัวของเม็ดแร่หรือ
            เกิดแร่ใหม่ขึ้น



































                                              แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
                                                                 ที่มา : สํานักงานทรัพยากรธรณีเขต 4 (สุราษฎร์ธานี), 2560
                          โครงสร้างทางธรณีวิทยาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะเป็นพื้นที่เทือกเขาด้านตะวันตกตามแนว
            เทือกเขาภูเก็ต เป็นภูเขาที่มีหินอัคนีประเภทหินแกรนิตเป็นหินฐานสําคัญ ส่วนใหญ่ถูกปิดทับด้วยหินตะกอนยุคคาร์บอ

            นิเฟอรัส-เพอร์เมียนของกลุ่มหินแก่งกระจาน แทรกสลับด้วยหินปูนยุคเพอร์เมียน กลุ่มหินราชบุรีบริเวณรอบๆเขื่อน
            รัชชประภา ตอนกลางของจังหวัดพบหินตะกอนชนิดต่างๆ เช่น หินปูน หินโคลน หินทราย หินทรายแป้ง หินกรวดมน
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87