Page 59 - surat61
P. 59

47




                       การปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์   ส่งผลต่อการช่วยเหลือเกษตรกรคามนโยบายรัฐที่ไม้
                       ครอบคลุม จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดําเนินการอบรมเกษตรกร  เยาวชนเกษตร  หลักสูตรการกรีดยาง เป็น

                       การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดปัญหาการจ้างแรงงานกรีดยาง  ที่เป็นชาวต่างชาติเป็นส่วนใหญ่
                       เมื่อราคายางพาราตกต่ําส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานกรีดยางพารา ไม่มีคนกรีดยางจํานวนมาก

                   -  ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับต่ําและด้อยคุณภาพ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็น

                       เกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็กหรือเกษตรกรรายย่อย การบริหารและการจัดสวนยางยังขาดประสิทธิภาพ
                       ประกอบกับขาดปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย เมล็ดพืชคลุมดิน หรือสารเคมีและอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ส่งผล

                       ให้ผลผลิตคุณภาพต่ําและไม่สม่ําเสมอ
                   -  การระบาดของโรครากยาง  โดยเฉพาะโรครากขาว เป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้างทั้งในจังหวัดและ

                       ภาคใต้ที่เป็นแหล่งปลูกยางของประเทศ  ได้มีการรณรงค์ให้ความรู้ด้านการป้องกันกําจัดอย่างต่อเนื่อง

                       หากเกษตรกรไม่มีการป้องกันกําจัดปัญหาโรครากยางจะรุกลามส่งผลต่อพื้นที่ปลูกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องใน
                       อนาคต

                   -  การผลิตของเกษตรกรรายย่อยไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด กล่าวคือ ส่วนใหญ่ ยังคงผลิต
                       ความต้องการของตนเอง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์พบว่า ทิศทางการพัฒนาระบบการผลิตยางที่ผ่านมา รัฐมุ่งเป้าให้

                       เกษตรกรทําการผลิตวัตถุดิบ (ยางแผ่น) ป้อนให้แรงงานอุตสาหกรรมและคาดหวังผลตอบแทนทาง

                       เศรษฐกิจในระดับภาคเป็นหลัก ในขณะที่เกษตรกรยังคงมีวิธีและเป้าหมายในการผลิตตามความพอใจของ
                       ตนเอง เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงผลิตยางแผ่นดิบแต่โรงงานต้องการยางก้อน เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิต

                       ยางแท่ง ซึ่งผลมาจากความต้องการยางแท่งของโลกเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความต้องการยางแผ่นรมควัน
                       ลดลง

                   -  ตลาดยางพาราระดับท้องถิ่น เป็นตลาดที่ทีผู้ค้าจํานวนมากกระจายอยู่ในระดับตําบล หมู่บ้านส่งผลให้

                       มูลค่าที่เกษตรกรได้รับต่ํากว่ามูลค่าที่ควรเป็น  มีตลาดกลางไม่ครอบคลุมพื้นที่  ควรส่งเสรืมให้กลุ่ม
                       เกษตรกร  สถาบันเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร  เปิดจุกรับซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรง หรือเป็น

                       ตัวแทน  กยท.ในการรับซื้อยาง  รัฐสนับสนุนทุนรับซื้อ
                   -  ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยาง สวนทางกับการเติบโตของเกษตรกรและองค์กรเกษตรชาวสวนยาง

                       เพราะที่ผ่านมารัฐเน้นการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทมากกว่าการสนับสนุนให้

                       ภาคการผลิตและการสร้างความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจฐานราก ดังจะเห็นได้จากการเข้ามามีบทบาท
                       ของอุตสาหกรรมในขั้นตอนการผลิต การมีบทบาทแปรรูปของเกษตรกรลดลง เน้นให้ขายน้ํายางมากขึ้น

                       ส่งให้ภาพความเป็นจริงเกษตรกรหันมาผลิตน้ํายางสดมากขึ้น เพื่อให้ตอบสนองความต้องการใน
                       ภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้เป็นอิทธิพลของเศรษฐกิจมหภาคเป็นหลัก จนไม่ให้ความสําคัญและการละเลยการ

                       สนับสนุนเกษตรกรและองค์กรชาวสวนยางให้มีบทบาทในการพัฒนาการตลาดและอุตสาหกรรมมากขึ้น
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64