Page 58 - surat61
P. 58

46




               ทิศทางสถานการณ์ปาล์มน้ํามันและยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2561


            ปาล์มน้ํามัน

            เนื้อที่ยืนต้น    ทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560  เนื่องจาก ปลูกทดแทน ที่นาและยางพาราที่อายุมากเนื่องจาก
                          ราคายางตกต่ําและ กยท. ให้ทุนสงเคราะห์ไร่ละ 16,000 บาท
            เนื้อที่ให้ผล    ทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560  เนื่องจาก ปาล์มที่ปลูกทดแทนสวนมะพร้าว  กาแฟ ยางพารา
                          นาร้าง ในปี 2558 เริ่มให้ผลผลิต

            ผลผลิต        ทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560  เนื่องจาก เนื้อที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประกอบกับช่วงปลายปี 60
                          อากาศเอื้ออํานวย ปริมาณน้ําฝนค่อนข้างมาก ทําให้ทะลายปาล์มค่อนข้างสมบูรณ์
            ผลผลิตต่อไร่   ทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560 เนื่องจาก ปี 2560 อากาศเอื้ออํานวย ปริมาณน้ําฝน
                          ค่อนข้างมากส่งผลให้ต้นปาล์มค่อนข้างสมบูรณ์ประกอบกับทะลายปาล์มที่ออกช่วงปลายปี 2560 ซึ่ง

                          จะไปเก็บเกี่ยวช่วงต้นปี 2561 มีความสมบูรณ์ น้ําหนักทะลายมาก คาดว่าปี 2561 ผลผลิตต่อไร่จะ
                          สูงกว่าปี 2560 แต่ไม่มากเนื่องจากมีพื้นที่ให้ผลผลิตเป็นปีแรกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก
            ยางพารา

            เนื้อที่ยืนต้น    ทิศทางปรับตัวลดลงจากปี 2560 เนื่องจาก เกษตรกรโค่นยางที่มีอายุมากให้ผลผลิตน้อย ประกอบ
                          กับราคายางตกต่ําทําให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ํามันและทุเรียนทดแทน (ระยะ 2-3ปีที่
                          ผ่านมาทุเรียนราคาดี)
            เนื้อที่เปิดกรีด   ทิศทางปรับตัวลดลงจากปี 2560 เนื่องจาก พื้นที่กรีดได้ลดลงเนื่องจากเกษตรกรโค่นยางที่มีอายุมาก
                          ให้ผลผลิตน้อย ประกอบกับราคายางตกต่ําทําให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ํามันและทุเรียน

                          ทดแทน
            ผลผลิต        ทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560 เนื่องจาก สภาพอากาศเอื้ออํานวย คาดว่าปริมาณน้ําฝนและ
                          จํานวนวันฝนตกจะน้อยกว่าปี 2560 ประกอบกับเกษตรโค่นยางพาราที่อายุมากและให้ผลผลิตน้อย

                          ทิ้งเนื่องจากราคายางพาราตกต่ํา
            ผลผลิตต่อไร่   ทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560 เนื่องจาก สภาพอากาศเอื้ออํานวย คาดว่าปริมาณน้ําฝนและ
                          จํานวนวันฝนตกจะน้อยกว่าปี 2560 ประกอบกับเกษตรโค่นยางพาราที่อายุมากและให้ผลผลิตน้อย
                          ทิ้งเนื่องจากราคายางพาราตกต่ําทําให้ภาพรวมผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา


            ยางพารา



                   การประชุมระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ช่วยกันคิดโครงการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่อง
            ยางพาราพบปัญหาและประเด็นที่ร่วมกันแก้ไขดังนี้


                   -  ผลผลิตต่อไร่ต่ํา เนื่องจากมีการปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและมีการนําเทคโนโลยีไปใช้น้อย โดยเฉพาะ

                       ด้านเฉพาะด้านการดูแลรักษาสวนยางและการเปิดกรีด นอกจากนี้การปรับหรือประยุกต์เทคโนโลยีที่
                       เหมาะสมมาสู่ระบบการผลิตยังมีน้อย รวมถึงการกรีดยางที่มีอายุมาก (อายุที่เหมาะสมแก่การให้น้ํายาง

                       ปกติ 7 - 30 ปี) ส่งผลให้ได้น้ํายางปริมาณที่น้อย และส่งผลกระทบต่อผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ยังอยู่ในระดับต่ํา
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63