Page 60 - surat61
P. 60

48




                   -  องค์กรชาวสวนยางในปัจจุบัน ยังไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ประกอบกับมาตรฐานด้านการตลาด
                       ของรัฐที่มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทําให้องค์กรชาวสวนยางขาดโอกาสในการเข้ามามีบทบาทในระบบ

                       ตลาด และไม่ควรแทรกแซงตลาดยางพาราเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดที่แท้จริง
                   -  ส่งเสริมการปลูกพืชแซมยางหรือพืชร่วมยาง  ลดความเสี่ยงด้านราคายางที่ไม่แน่มีเสถียรภาพ

                   -  รัฐขาดงบประมาณในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดการแปรรูปยางพารา นอกจากนี้ยังขาดความ

                       ร่วมมือและสนับสนุนงบประมาณภาคเอกชน ทําให้การพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราพัฒนาไป
                       อย่างเชื่องช้า

                   -  ส่งเสริมให้มีการใช้ยางและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางใช้ภายในประเทศให้มากขึ้น


                   ทั้งนี้จากการระดมความคิดผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการผลิตยางพารา ในเบื้องต้นได้มีการเห็นพ้องกันว่าควรจัด
            ให้มีการจัดทําโครงการที่เป็นรูปธรรมเพื่อช่วยเหลือการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง คือ การเพิ่มผลผลิตต่อไร่

            และการลดต้นทุนการผลิต


            ปาล์มน้ํามัน

                   การประชุมระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ช่วยกันคิดโครงการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่อง

            ปาล์มโดยมีประเด็นที่สําคัญ คือ การพัฒนาปาล์มน้ํามันอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่สําคัญคือ การเพิ่ม

            ผลผลิตต่อไร่และคุณภาพของพันธุ์ปาล์มน้ํามัน  การลดต้นทุนการผลิต  การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม ประสิทธิภาพการสกัด
            น้ํามันต่ํา  เนื่องจากการตัดและการรับซื้อผลปาล์มดิบ  ซี่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย  ทั้งเกษตรกร  ลานเท

            และโรงงานสกัดน้ํามันปาล์ม    ไม่มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าหรืออุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากน้ํามันปาล์มดิบ  การ

            ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากปาล์มน้ํามันมีข้อจํากัด  จึงได้ส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง โดยมีวิธีการ

               o  หน่วยงานภาครัฐดําเนินการส่งเสริมและพัฒนาผ่านสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์

               o  ให้ความรู้การจัดการสวนอย่างถูกวิธี ทั้งนี้อาจใช้วิธีแปลงสาธิตอําเภอละหนึ่งแปลง
               o  ส่งเสริมวิธีการใช้ปุ๋ยโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามอัตราส่วนที่แนะนํา

               o  รัฐบาลเข้ามาดูแลกลไกราคา ทั้งเรื่องราคาต้นทุนการผลิต และราคารับซื้อปาล์มของทั้งพ่อค้าและโรงงาน

               o  ส่งเสริมการทําคลังน้ํามันปาล์มดิบของรัฐและเอกชนเพื่อควบคุมปริมาณที่แท้จริง
               o  ให้ทุนแก่เกษตรกรเพิ่มเติม รวมถึงการลงทุนติดตั้งแหล่งน้ําให้ใกล้พื้นที่ปลูกปาล์ม

               o  การสนับสนุนให้มี  พ.ร.บ.ปาล์มน้ํามัน  การบริหารจัดการทั้งระบบมีความจําเป็นต่อการพัฒนาปาล์มน้ํามัน

                   และน้ํามันปาล์มมากที่สุดเช่นเดียวกับ Malaysian Palm Oil board (MPOB) ซึ่งแม้ว่าจะมีหลายหน่วยงาน
                   หรือคณะกรรมการหลายชุด รวมถึงคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ํามันมันแห่งชาติ แต่ทั้งนี้การดําเนินงานยัง

                   ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ดังนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคณะกรรมการระดับชาติเพื่อบริหารจัดการพัฒนา ปาล์ม
                   น้ํามันและน้ํามันปาล์ม ตั้งแต่การผลิตเกษตรกร จนถึงผลผลิตขั้นสุดท้าย เพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันใน
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65