Page 67 - surat61
P. 67

55




                   อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าบางประเภทที่ปรับราคาลดลงได้แก่ หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และ สัตว์น้ํา (เนื้อสุกร
            ปลาช่อน ปลาดุก ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ปลากะพง หอยแครง) ไข่และผลิตภัณฑ์นม (ไข่ไก่ ครีมเทียม นมถั่วเหลือง)

            ผักและผลไม้ (กะหล่ําปลี ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักชี มะเขือเทศ มะละกอดิบ  ฟักเขียว ฟักทอง มะนาว พริกสด
            ต้นหอม กะหล่ําดอก กระเทียม ส้มเขียวหวาน มะม่วง แก้วมังกร) เครื่องประกอบอาหาร (น้ําตาลทราย แยมผลไม้)

            เครื่องปรุงอาหาร (น้ํามันพืช) เครื่องปรุงรส (น้ําปลา ซีอิ๊ว) เป็นต้น

                       3.2 ดัชนีราคาหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง (0. 0)  แต่มีการเคลื่อนไหว

            ของสินค้าบางรายการที่ปรับสูงขึ้น ได้แก่ เครื่องแต่งบ้านและบริภัณฑ์อื่นๆ (ตู้เย็น) หมวดการตรวจรักษาและบริการ
            ส่วนบุคคล (โฟมล้างหน้า) หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร (น้ํามันดีเซล ก๊าซยานพาหนะ LPG)


                   สินค้าที่ปรับราคาลดลงได้แก่ เชื้อเพลิงในบ้าน (ก๊าซหุงต้ม) สิ่งที่เกี่ยวกับทําความสะอาด  (สารกําจัดแมลง/ไล่
            แมลง) ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (ครีมนวดผม) น้ํามันเชื้อเพลิง (น้ํามันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 91, 95, E20)


                   4. พิจารณาเทียบกับดัชนีเดือนธันวาคม 2559 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.1 สําหรับสินค้าที่ปรับราคาสูงขึ้น
            ได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.3 เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และ สัตว์น้ําร้อยละ 2.1 ผักและผลไม้

            ร้อยละ 5.1 เครื่องประกอบอาหารร้อยละ 0.5 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.0 อาหารบริโภค-ในบ้าน ร้อยละ

            0.5 หมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.0 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.3 หมวดเคหสถานร้อย
            ละ 0.7 หมวดการตรวจรักษาและการบริการส่วนบุคคล ร้อยละ 0.2 หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารร้อยละ

            1.3 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนาร้อยละ 0.3 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ
            5.8 สําหรับสินค้าที่ปรับราคาลดลงได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 0.5 ไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ

            1.5

                   5. พิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ย 12 เดือน (เดือนมกราคม–ธันวาคม 2560 กับเดือนมกราคม–ธันวาคม

            2559) ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.0 ปัจจัยสําคัญเป็นการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ

            0.4 ได้แก่ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ําร้อยละ 3.0 ผักและผลไม้ร้อยละ 0.4อาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 0.3 อาหาร
            บริโภคนอกบ้านร้อยละ 0.6 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.0 หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.5

            หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.3 หมวดเคหสถานร้อยละ 0.6 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
            ร้อยละ 0.2 หมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 2.5 น้ํามันเชื้อเพลิงร้อยละ 8.4 หมวดการบันเทิง การ

            อ่าน การศึกษาและการศาสนาร้อยละ 0.5 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 3.5

                   สินค้าปรับราคาลดลงได้แก่ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 4.2 ไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ

            2.3 เครื่องประกอบอาหารร้อยละ 0.4
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72