Page 70 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 70

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยใช้ฐานเกษตร

                                       และท่องเที่ยวมาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                        จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สามารถเป็นฐานเพื่อการพัฒนาด้านอื่นๆ
                   ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ถึงแม้พื้นที่ป่าชายเลนของจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
                   แต่ระดับความอุดมสมบูรณ์กลับลดลงมาก  ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการร่วมกัน ที่สําคัญคือการขยายตัวของ
                   ประชากร ทําให้มีการพัฒนากิจกรรมต่างๆ มากมาย ที่สําคัญคือ การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา
                   โดยเฉพาะการทํานากุ้ง การทําเหมืองแร่ การเกษตรกรรม และกิจกรรมอื่น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชาย

                   เลนดังกล่าวทําให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลน หลายประการ เช่น อุณหภูมิน้ําสูงขึ้น ปริมาณ
                   ธาตุอาหารลดลง ความเค็มเพิ่มขึ้น น้ําขุ่นข้น มีปริมาณสารพิษ ในน้ํา เกิดการพังทลายของดิน มีการเปลี่ยนแปลง
                   ชนิด ปริมาณและลักษณะโครงสร้างของพืชและสัตว์น้ํา ที่ สําคัญคือมีผลกระทบต่อความสมดุลของระบบ
                   นิเวศในป่าชายเลนและระบบนิเวศอื่นในบริเวณชายฝั่งและ ใกล้เคียงป่าชายเลน ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึง

                   เศรษฐกิจและประชาชนและของประเทศโดยรวม และยากที่จะฟื้นฟูเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์
                   เหมือนเดิมได้แม้จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล
                        ตัวชี้วัด
                        ระดับความสําเร็จของการดําเนินการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับคุณภาพของ
                   แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับความสําเร็จของการดําเนินงาน
                   แก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับความสําเร็จของการดําเนินการตามนโยบายด้าน

                   ทรัพยากรป่าไม้ ร้อยละของจํานวนพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทําลายที่ได้มีการดําเนินการตามกฎหมายหรือจัดการ
                   ตามหลักวิชาการ จํานวนแหล่งน้ําที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุง อนุรักษ์และฟื้นฟูเพื่อแก้ไขปัญหา ภัยแล้ง
                   และอุทกภัย ร้อยละระดับความสําเร็จของการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่






















                   แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 66
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75