Page 74 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 74

บทที่ 5

                                                 ปัจจัยแห่งความสําเร็จ


                        ปัจจัยสําคัญเกื้อหนุนให้แผนพัฒนาจังหวัด  20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579) ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี
                   สู่ความสําเร็จในการปฏิบัติมี 7 ประการ ดังต่อไปนี้

                        1.ปัจจัยด้านผู้บริหาร
                        ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด

                   ปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการที่ตั้งในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ต้องมี
                   การติดตามสั่งการ  ให้หน่วยงาน และบุคคลที่อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชา ปฏิบัติราชการตามกลยุทธ์
                   โครงการหรือกิจกรรมที่ได้กําหนดไว้ รวมทั้งการให้คําปรึกษา คําแนะนํา และให้ความช่วยเหลือสนับสนุน
                   เพื่อให้สามารถดําเนินการตามกลยุทธ์ได้

                        2.ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน
                        ผู้ปฏิบัติงานของจังหวัดประกอบด้วยข้าราชการและบุคลากรในจังหวัดสุราษฏร์ธานีต้องศึกษา

                   เรียนรู้ทําความเข้าใจแผนพัฒนาจังหวัด 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579) เพื่อให้เห็นภาพรวมที่กําหนดและ
                   ศึกษา  ให้เข้าใจถ่องแท้ในส่วนของกลยุทธ์  ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย โครงการ หรือกิจกรรมในส่วนงานที่ตน
                   รับผิดชอบ ซึ่งอาจจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการ
                   ดําเนินงานตามกลยุทธ์ รวมทั้งต้องพัฒนาสมรรถนะในการเขียนโครงการ การดําเนินงานโครงการ และ

                   การประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management)
                        3.ปัจจัยด้านกระบวนการทํางาน

                        ส่วนราชการจังหวัดและส่วนราชการในจังหวัดสุราษฏร์ธานีควรมีการปรับปรุงกระบวนการทํางาน
                   แบบใหม่ให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว ทํางานอย่างบูรณาการสู่ความเป็นหนึ่ง เพื่อสร้างความพึงพอใจ
                   ผู้รับบริการเหนือความคาดหวัง

                        4.ปัจจัยด้านการติดตามและประเมินผล
                        การดําเนินงานตามกลยุทธ์ โครงการ หรือกิจกรรม ต้องมีการติดตาม ประเมินผล โดยกําหนด
                   ระบบการรายงานผลการดําเนินงานเป็นระยะๆ ทั้งระหว่างดําเนินงานตามงวดงานโครงการ และมีการ
                   วิจัยประเมินผลโครงการเมื่อดําเนินโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด 20 ปี เสร็จสิ้นแล้ว

                        5.ปัจจัยด้านการถ่ายทอดตัวชี้วัดและการประเมินผลการปฏิบัติงาน

                        ตัวชี้วัดตามแผนพัฒนาจังหวัด (KPIs) ของจังหวัดสุราษฏร์ธานีต้องมีการถ่ายทอดแปลงสู่ระดับ
                   ส่วนราชการจังหวัด และส่วนราชการในจังหวัดสุราษฏร์ธานีสู่ระดับกลุ่มงาน และสู่ระดับส่วนบุคคล







                   แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 70
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78