Page 59 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 59

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี

                   พ.ศ. 2560 – 2579 สู่การปฏิบัติ
                   ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการผลิตสินค้าทางการเกษตร ปศุสัตว์และประมงที่มีคุณภาพ
                        การวิเคราะห์ศักยภาพจังหวัด  จะพบว่า สาขาเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนใน GPP  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                   มากที่สุด คือ สาขาเกษตรกรรม (47,318 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 28.15 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด
                   รองลงมาได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม (24,771 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 14.74 สาขาโรงแรมและภัตตาคาร
                   (20,305 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 12.08 และสาขาขายส่งขายปลีก (19,767 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ
                   11.76
                        การวิเคราะห์ศักยภาพทางเศรษฐกิจและการแข่งขันของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ภาคเกษตร

                   สําคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี  คือ 1) ยางพาราและปาล์มน้ํามัน และ 2) ไม้ผลและการประมง และจาก
                   การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมเบื้องต้น พบว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นถึงแม้จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะมีจุดแข็งที่
                   เป็นฐานการผลิตทางการเกษตรที่สําคัญ แต่มีจุดอ่อนและอุปสรรคสําคัญที่กระบวนการทางเศรษฐกิจยัง
                   เน้นที่การผลิตวัตถุดิบขั้นต้นซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ําและจากภาวะคุกคามจากการขยายพื้นที่ปลูก
                   ยางพาราและปาล์มน้ํามันในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ประเทศในภูมิภาคอินโดจีนและประเทศจีนจํานวน

                   มากส่งผลกระทบต่อปริมาณความต้องการและราคายางพาราและปาล์มน้ํามันจากประเทศไทยในอนาคต
                   ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่า
                   ทางเศรษฐกิจ จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดการ
                   วิจัยพัฒนาการเกษตรกว้างขวางรวดเร็ว และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและมูลค่าสินค้าเกษตร และ
                   จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่สามารถวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าแก่

                   ผลผลิตทางการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารจัดการดังนั้น การกําหนดเป้าประสงค์การ
                   พัฒนา “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของยางพาราและปาล์มน้ํามันให้สูงขึ้น” จึงเป็นเป้าหมายหลักในการ
                   พัฒนา โดยมีกลยุทธ์การพัฒนาที่มีจุดมุ่งเน้น ดังนี้
                        พัฒนาภาคการผลิตและอุตสาหกรรมยางพาราและปาล์มน้ํามันแบบครบวงจร (การผลิต การแปร
                   รูป การตลาด) เพื่อเพิ่มมูลค่าและศักยภาพในการแข่งขันทิศทางของกระแสโลกที่การเพิ่มขึ้นของจํานวน

                   ประชากรโลก ทําให้ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารมีปริมาณสูงและผู้บริโภคให้ความสําคัญกับ
                   กิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสินค้าเกษตรปลอดภัย  ดังนั้นจึงกําหนดเป้าประสงค์การพัฒนา “ไม้
                   ผล สินค้าประมง และผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน   มีคุณภาพและความปลอดภัยระดับมาตรฐาน” เป็น
                   เป้าประสงค์หลักส่งเสริมและพัฒนายกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร (พืช/ประมง/ปศุสัตว์) โดยใช้
                   มาตรฐาน GAP ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับนานาชาติเป็นมาตรการสําคัญ
                        ตัวชี้วัด

                        ร้อยละของจํานวนแปลง/ฟาร์มที่ได้รับใบรับรองมาตรฐาน GAP  ของผลผลิตการเกษตร ที่สําคัญ
                   ต่อจํานวนแปลง/ฟาร์มที่ได้รับการตรวจจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละของจํานวนเกษตรกร
                   กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการเตรียมความพร้อมตามระบบมาตรฐาน GAP  จํานวนผลผลิตการเกษตรเฉลี่ยต่อ
                   หน่วยการผลิต ร้อยละเฉลี่ยของการดําเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวังโรคระดับความสําเร็จใน
                   การพัฒนาแหล่งน้ําและบริหารน้ําในพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทาน  ระดับความสําเร็จในการบริหาร



                   แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                               หน้า 55
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64