Page 89 - surat61
P. 89

77




                          การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัด
            สุราษฎร์ธานี เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเกษตร นากุ้ง เหมืองแร่ ท่า
            เทียบเรือ เป็นต้น
                          ปัญหา

                          1. เกิดการบุกรุกป่าชายเลนโดยการทํานากุ้ง ลักลอบตัดไม้ ทําประมงด้วยเครื่องมือทําลายล้าง และ
            ทําลายป่าชายเลน ขยายเป็นวิกฤตด้านน้ํา เพราะปล่อยน้ําเสียปนเปื้อนสารเคมีลงสู่ลําคลอง
                          2.  น้ําไม่พอใช้ ในการอุโภค-บริโภค
                          3.  ไม่มีการจัดการน้ํา การจัดการป่า

                          4.  มีการใช้สารเคมี
                          5.  มีการลักลอบตัดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนไปใช้ประโยชน์
                          6.  มีประมงพื้นบ้านที่ผิดกฎหมาย
                          7.  มีโรงงานปล่อยน้ําเสีย  รวมถึงมีขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้




                พื้นที่ชุ่มน้ํา


                          สถานการณ์
                          จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ชุ่มน้ําที่สําคัญ 5 แห่ง ได้แก่ แม่น้ําตาปี อ่าวบ้านดอน อุทยานแห่งชาติเขา
            สก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ําดังกล่าวพบพันธุ์พืช และ
            พันธุ์สัตว์มากมายหลายชนิด เช่น แสมดํา แสมขาว แสมทะเล ลําพู ลําแพน โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ถั่วขาว

            ตะบูนขาว ตาตุ่มทะเล นกอีลุ้ม นกหัวโตเล็กขาเหลือง นกชายเลนน้ําจืด นกกระเต็นน้อยธรรมดา นกกระเต็นหัวดํา
            และ นกยางนานาชนิด เป็นต้น
                          พื้นที่ชุ่มน้ําที่สําคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ําอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็น

            พื้นที่ชุ่มน้ําหรือแรมซาร์ไซต์ (Ramsar) ลําดับที่ 9 ของประเทศไทย และลําดับที่ 1184 ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ําที่มี
            ความสําคัญระหว่างประเทศ มีเนื้อที่รวม 63,750 ไร่ มีความสูงจากระดับน้ําทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 0-396 เมตร
            ในระวาง 4928  I  หมู่เกาะอ่างทองประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 42 เกาะที่มีขนาดเล็กและขนาดกลาง อยู่เป็น
            กลุ่มเกาะกลางทะเล วางเรียงตัวในแนวเหนือ-ใต้ ส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนสูงชันซึ่งเป็นแนวหน้าผาสูงชันตั้งดิ่งจากพื้นที่

            น้ําทะเล พื้นที่อุทยานฯ ประกอบด้วยพื้นน้ําประมาณ 52,000 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 82 ของพื้นที่ทั้งหมด อยู่ใน
            เขตน้ําตื้นใกล้ฝั่ง มีความลึกเฉลี่ยของน้ําประมาณ 10 เมตร และได้รับอิทธิพลของตะกอนจากแม่น้ําตาปี ลักษณะ
            ชายฝั่งมีความสูงชัน มีแนวปะการังก่อตัวเป็นแนวแคบๆ ชายฝั่ง
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94