Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

การประชุมคณะกรรมการกำหนดพื้นที่ที่จะทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

วันที่ 20 ตุลาคม 2566  เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำหนดพื้นที่ที่จะทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567  โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวขัองร่วมประชุม
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณากำหนดพื้นที่และวันเริ่มต้นการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินและสอบเขตโฉนดที่ดิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ชึ่งเป็นไปตามตามข้อสั่งการกรมที่ดิน เรื่องแผนปฏิบัติการโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศกำหนดจังหวัดที่จะทำการสำรวจรังวัดทำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินตามแผนปฏิบัติการโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินและรังวัดรูปแปลงโฉนดที่ดินให้เป็นมาตรฐานเดียวกันให้ครอบคลุม ทั่วประเทศ ทั้งนี้การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่รวมท้องที่ที่ทางราชการได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร และที่ดินต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดิน ตามข้อ 14 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 เช่น ที่สาธารณประโยชน์ เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ พื้นที่ที่มีความลาดชันเกิน 35 % และที่สงวนหวงห้ามอื่นๆ

การประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการอนุญาตสั่ง ซื้อ มี ใช้ ย้ายและการเก็บรักษาวัตถุระเบิด รวมทั้งตรวจสถานที่เก็บวัตถุระเบิด ในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ รวม 4 แห่ง

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 9.30 น. 

นายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการอนุญาตสั่ง ซื้อ มี ใช้ ย้ายและการเก็บรักษาวัตถุระเบิด รวมทั้งตรวจสถานที่เก็บวัตถุระเบิด ในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ รวม 4 แห่ง คือ บริษัท สิชลอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม จำกัด, บริษัท ศักดิ์เพชร กรุ๊ป จำกัด, บริษัท สุราษฎร์ผาทอง จำกัดและ บริษัท ท่าอุแทไมนิ่ง จำกัด เพื่อพิจารณากลั่นกรองการขออนุญาตสั่ง นำเข้า ซื้อ มี ใช้ ย้ายและการเก็บรักษาวัตถุระเบิด โดยคณะกรรมการได้ตรวจสอบและปฏิบัติควบคุมเกี่ยวกับการขออนุญาตฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ คำสั่งและหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย อย่างเคร่งครัด

การประชุมคณะกรรมการพิจารณาการจัดงานประเพณีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

วันที่ 19 ตุลาคม 2566  เวลา 10.00 น.  ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการจัดงานประเพณีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวขัองร่วมประชุม
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาให้ความเห็นข้อเสนอการจัดงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 11 แห่ง ประกอบด้วย 1.เทศบาลเมืองนาสาร เทศกาลงานเงาะโรงเรียน 2.เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ เทศกาลอาหารทะเลกินหอยนางรมและของดีอำเภอกาญจนดิษฐ์ 3.เทศบาลตำบลพรุพี งานรำลึกวีรชน ณ บ้านช่องช้าง 4.อบต.ท่ากระดาน งานสรงน้ำพระ 5.อบต.บางเดือน งานสืบสานประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อพัว เกสโร 6.อบต.เพิ่มพูนทรัพย์ งานประเพณีสารทเดือนสิบ 7.อบต.คลองศก งานสืบสานประเพณีรดน้ำผู้สูงอายุ และประเพณีชักพระ 8.อบต.บางไทร ประเพณีชักพระ และวันร่มโพธิ์ ร่มไทร 9.อบต.นาใต้ ประเพณีชักพระ 10.อบต.ตะกุกเหนือ ประเพณีชักพระ 11. เทศบาลตำบลเขานิพันธ์ งานวันลอยกระทง และแห่เทียนพรรษา ทั้งนี้เพื่อรายงานผลการพิจารณาต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อพิจารณาประกาศเป็นงานประเพณีท้องถิ่นหรือเป็นงานประเพณีเฉพาะในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป

โครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ สถานีที่ตอบสนองต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station)

วันที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น.

นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ สถานีที่ตอบสนองต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station) พร้อมด้วยผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ คาร์กิลล์ ประเทศไทย ธนาคารออมสิน ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานีโดยกล่าวสรุปผลการดำเนินงานของโครงการฯ ที่ห้องประชุมครุพัฒน์ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี กล่าวว่า ตามที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ดำเนินโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ (Innovative Solutions for Waste Bank Development in Surat Thani) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทคาร์กิลและธนาคารออมสิน (Government Savings Bank - GSB) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการจัดการขยะที่ดีและสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากขยะ โดยให้หลักการมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบการจัดการขยะ มุ่งสู่เป้าหมายขยะเป็นศูนย์ในระยะยาวของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี รวมถึงการสาธิตแบบจำลองของธนาคารขยะและพัฒนาให้เป็นสถานีต้นแบบที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนการถอดบทเรียนจากโครงการฯ ซึ่งจะนำไปสู่ต้นแบบในองค์กรหรือชุมชนอื่นที่มีขนาดและลักษณะใกล้เคียงกันในประเทศไทยได้ ซึ่งขณะนี้ การดำเนินงานโครงการได้เสร็จสิ้น จึงจัดให้มีการจัดงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษา รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการขยะ

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!