Page 4 - แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีระยะ 20 ปี
P. 4

บทที่ 1

                                                         สภาพทั่วไป



                  1.1 ที่มา
                       ดินแดนบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ที่เรียกว่าอ่าวบ้านดอน ในทุกวันนี้ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานไว้ว่า มี

                  ผู้คนชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่กันมาแต่หนึ่งพันสี่ร้อยปีก่อนแล้ว หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 12  นั่นเอง ครั้ง
                  กระนั้นมีชาวอินเดียแล่นเรือมาถึงเมืองตะกั่วป่าและเดินทางเลาะเลียบลําน้ําตะกั่วป่าไปสู่เชิงเขาหลวง ข้ามเขาเดิน
                  เลียบริมแม่น้ําหลวงเรื่อยมาจนถึงปากอ่าวบ้านดอนชาวอินเดียเป็นผู้มีวิชาความรู้เหนือชนพื้นเมือง จึงได้แพร่
                  วัฒนธรรมของตนไว้ในดินแดนเหล่านี้ สมัยนั้นเป็นเวลาแห่งความรุ่งเรืองของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งนักโบราณคดีชาว
                  อังกฤษดอกเตอร์ควอริตย์ เวลส์ และศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ให้ความเห็นสนับสนุนว่าศูนย์กลางอาณาจักร
                  ศรีวิชัยอยู่ที่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                       รอบอ่าวบ้านดอนมีเมืองสําคัญๆ อันเป็นที่มาของจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบันอยู่หลายเมือง คือ เมืองไชยา ตั้งอยู่
                  บริเวณริมน้ําท่าทองอุแท อยู่ในบริเวณอําเภอกาญจนดิษฐ์ ปัจจุบัน และเมืองคีรีรัฐนิคมตั้งอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ําพุมดวง ซึ่ง
                  อยู่ในเขตอําเภอคีรีรัฐนิคมในปัจจุบันเมืองทั้งสามนี้เป็นเมืองเก่าแก่อันเป็นต้นกําเนิดของจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือ
                  บ้านดอนวันนี้

                       “วันพฤหัสบดีที่ 29  กรกฎาคม พ.ศ. 2458  วันนี้มีกระแสพระบรมราชองการดํารัสเหนือเกล้าสั่งผู้แทน
                  เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้ประกาศพระราชปรารภเรื่องที่บ้านดอนซึ่งเป็นเมืองไชยาใหม่ แลตั้งที่ว่าการมณฑล
                  ชุมพรอยู่นั้น ประชาชนก็คงเรียกว่าบ้านดอนอยู่ตามเดิม และเมืองไชยาเก่าซึ่งเปลี่ยนเรียกว่า อําเภอพุมเรียง แต่
                  ราษฎรก็คงเรียกชื่อเดิม เมืองไชยาเป็นไชยาเก่า ไชยาใหม่ สับสนกันไม่เป็นที่ยุติลงในราชการ จึงโปรดเกล้าฯ
                  พระราชทานนามเมืองที่บ้านดอนใหม่ว่า เมืองสุราษฎร์ธานี เปลี่ยนอําเภอพุมเรียง เรียกว่า อําเภอเมืองไชยา เพราะ
                  เป็นชื่อเก่า”

                       ในวันเดียวกันนี้เอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนนามแม่น้ําหลวงเป็นแม่น้ําตาปี  การที่
                  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองไชยาที่บ้านดอนเป็นสุราษฏร์ธานี ก็เพราะทรง
                  สังเกตเห็นว่า ชาวเมืองนี้เป็นคนดีสุภาพเรียบร้อย และการที่ทรงเปลี่ยนชื่อแม่น้ําหลวงเป็นตาปีนั้น เล่ากันว่า
                  พระองค์ทรงนําแบบมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นแม่น้ําสายหนึ่งตั้งต้นจากขุนเขาสัตตปุระ ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียทาง

                  อ่าวแคมเบย์ ชื่อแม่น้ําตาปติ ทางฝั่งซ้ายก่อนที่แม่น้ําตาปติจะออกปากอ่าวนี้ มีเมืองเมืองหนึ่งชื่อเมืองสุรัฎร์ ตั้งอยู่
                  ด้วยเหตุนี้เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นสุราษฎร์ธานี (สุรัฎร์) จึงทรงเปลี่ยนแม่น้ําหลวงเป็นตาปีด้วย
                       จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะจังหวัดที่มีความสําคัญด้านการท่องเที่ยวของ
                  ประเทศเพราะนับตั้งแต่อาจารย์เดโช บุญชูช่วย ปราชญ์ชาวสุราษฎร์ธานี ได้เขียนบทกลอนในการสัมมนาการ
                  ท่องเที่ยว 14 จังหวัดภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2525


                                “สุราษฎร์ธานี มีไม่น้อย เกือบร้อยเกาะ
                                พืชพันธุ์เงาะ อร่อย หอยก็ใหญ่
                                ไข่เค็มแดง และแหล่งธรรม น้อมนําใจ
                                คุณเมื่อไร มาอีกครั้ง ตั้งตาคอย”


                  แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)                                หน้า 1
   1   2   3   4   5   6   7   8   9