Page 35 - surat61
P. 35

23




                         การส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชน

            ๑. สถานการณ์


                   จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี ๒๕๖๐ มีผู้สูงอายุ จํานวน ๑๓๑,๖๖๘ คน คิดเป็น ร้อยละ ๑๓.๓๐ จึงกําหนด
            ยุทธศาสตร์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้วิสัยทัศน์ “Seamless and Holistic Aging Health Care” และมาตรการ
                                  +
            ดําเนินงานตาม SALE 60 Model ประกอบด้วย Screening, Aging Health Club, LongTerm Care,และ End of
            life Care ซึ่งรัฐบาลเองก็ได้มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติดบ้านติดเตียง โดยมีเป้าหมายสําคัญคือ
            ทําอย่างไรไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรง ไม่มีการเจ็บป่วย ป้องกันไม่ให้อยู่ในภาวะพึ่งพิง และทําอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ใน
            ภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลที่เหมาะสม


                     ผลการดําเนินงาน ปี 2560 ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง/ประเมินสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ร้อยละ
            85.85 ในจํานวนนี้ แบ่งเป็น กลุ่มที่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจําวันด้วยตนเอง (กลุ่ม ๑) ร้อยละ ๙๔.๓๕ ส่วนกลุ่มต้อง
            ได้รับการช่วยเหลือบางส่วนในการประกอบกิจวัตรประจําวัน (กลุ่ม ๒) ร้อยละ 4.48 และกลุ่มที่ไม่สามารถประกอบ
            กิจวัตรประจําวันด้วยตนเอง(กลุ่ม ๓) ร้อยละ 1.17  โดยรวมผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ร้อยละ ๕.๖๕ การคัดกรองปัญหา

            สุขภาพที่พบบ่อย และ Geriatric syndromes พบว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 40.75 เสี่ยง
            โรคเบาหวาน ร้อยละ10.11 เสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมอง ระดับสูงปานกลางถึงสูง ร้อยละ 51.98 สูงมากถึงสูง
            อันตราย ร้อยละ 34.26 มีความผิดปกติจากการคัดกรองเข่าเสื่อม ร้อยละ 12.98 และเสี่ยงต่อการหกล้ม ร้อยละ
            6.71  มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 6.28  มีความเสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 0.90 และมีความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม

            (AMT) ร้อยละ 3.59  (ข้อมูล HDC :  สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ,๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๐)ตําบลที่มีระบบ
            ส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส และการดูแลระยะยาวในชุมชน (Long Term Care) ผ่านเกณฑ์
            ร้อยละ ๖๙.๔๙

            แผนงาน /โครงการ ที่สนับสนุนการดําเนินงานปีงบประมาณ ๒๕๖๑

                   1. ประชุมชี้แจงการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
                   (LTC) ให้แก่ผู้รับผิดชอบงานในหน่วยบริการ/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐  โดย

            สปสช.เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี)
                   2. จัดทําฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่จําเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือระยะยาวแยกตามหน่วยบริการ
                   3. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร การประเมิน/คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อรองรับการดูแลระยะยาว

            จนถึงระยะท้ายของชีวิต(๒๓ มกราคม ๒๕๖๑)
                   ๔. การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ (ประชุม ๒ เดือน/ครั้ง)
                   ๕. การพัฒนาระบบการดูแลระยาวสําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจนถึงระยะท้ายของชีวิต โดยกระบวนการมี
            ส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ด้วยการติดตามเยี่ยมเสริมพลัง ๒๐ เครือข่ายสุขภาพอําเภอตามแนวทางการดําเนินงาน
            ตําบล Long term care (มกราคม – มีนาคม)

                   ๖. อบรมการดูแลระยะท้ายของชีวิตให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ดูแลผู้สูงอายุ (กุมภาพันธ์ – มีนาคม)
                   ๗. การประชุมคณะทํางานพัฒนาระบบสุขภาพผู้สูงอายุ (๓ เดือน/ครั้ง)
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40