Page 100 - surat61
P. 100

88




                          2. การเก็บขนและการคัดแยกนําไปใช้ประโยชน์
                              อปท. ที่มีการดําเนินการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยชุมชน ทั้ง 77 แห่ง มีปริมาณขยะมูลฝอย
            ชุมชนที่เกิดขึ้นทั้งหมด ประมาณ 720.50 ตัน/วัน ปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บขนไปกําจัดยังสถานที่ กําจัดขยะมูลฝอย มี
            จํานวน 561.55 ตัน/วัน (ร้อยละ 77.94) ส่วนปริมาณขยะมูลฝอยจํานวน 158.95 ตัน/วัน (ร้อยละ 22.06) มีการ

            คัดแยกและถูกนําไปใช้ประโยชน์

                     แสดงปริมาณขยะมูลฝอยและการจัดการของ อปท. ที่มีการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยไปกําจัด

                               จํานวน อปท. ที่มี   ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ที่มีการให้บริการเก็บขนขยะไปกําจัด (ตัน/วัน)
                              การให้บริการเก็บขน  ปริมาณขยะที่  ปริมาณขยะที่        ปริมาณขยะที่มีการ
                  จังหวัด
                              ขยะมูลฝอยไปกําจัด  เกิดขึ้นในพื้นที่  เก็บขนไป  ร้อยละ  คัดแยกและถูกนําไปใช้ ร้อยละ
                                   (แห่ง)         ให้บริการ      กําจัด                ประโยชน์
              สุราษฎร์ธานี          77            720.50        561.55    77.94        158.95         22.06
                                                                     ที่มา : สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14, มกราคม 2561
                          3. การกําจัด

                              ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เก็บขนได้ จํานวน 1,034.26 ตัน/วัน ขยะมูลฝอยดังกล่าวจะถูกนําไป
            กําจัดยังสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีจํานวนทั้งสิ้น 40 แห่ง
                              สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยที่ดําเนินการแบบถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ คือ การ
            ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) การฝังกลบเชิงวิศวกรรม (Engineer Landfill) การฝังกลบแบบเท

            กองที่มีการควบคุม (Controlled  Dump)  ขนาดน้อยกว่า 50 ตัน/วัน เตาเผาที่มีระบบ กําจัดมลพิษทางอากาศ การ
            แปรรูปเพื่อผลิตพลังงาน (WTE) การหมักทําปุ๋ย (Compost) และการกําจัดขยะ มูลฝอยแบบเชิงกล-ชีวภาพ (MRT) มี
            จํานวน 4 แห่ง ได้แก่ ระบบกําจัดขยะมูลฝอยเทศบาล เมืองดอนสัก อําเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Engineer
            Landfill)  สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยเอกชน (บริษัท เอส อาร์ ที พาวเวอร์กรีน จํากัด) ตําบลท่าโรงช้าง อําเภอพุนพิน

            จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Engineer Landfill) สถานที่กําจัดขยะมูลฝอยเอกชน (บริษัท ลัคกี้คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จํากัด) ตําบล
            บ้านส้อง อําเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Engineer  Landfill)  ส่วนสถานที่กําจัดขยะมูลฝอย จํานวน 36 แห่ง
            เป็นสถานที่กําจัดขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ คือ การเทกอง (Open Dump) การ
            ฝังกลบแบบเทกองที่มีการควบคุม (Controlled  Dump)  ขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน การเผากลางแจ้ง (Open

            Burning) หรือการกําจัดโดยใช้ เตาเผาที่ไม่มีระบบกําจัดมลพิษทางอากาศ
                               นอกจากนี้ยังพบว่า ระบบกําจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับจัดสรร
            งบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาล โดยส่วนใหญ่ประสบปัญหาการบริหารจัดการ เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่มี ความรู้
            ความเชี่ยวชาญในการเดินระบบ ขาดงบประมาณสนับสนุนในการดูแลและบํารุงรักษา ส่งผลให้ระบบ กําจัดขยะที่

            ก่อสร้างไว้ขาดประสิทธิภาพ และอีกปัญหาหนึ่งที่สําคัญคือ บางพื้นที่ได้รับการต่อต้านจาก ประชาชนที่อยู่ใกล้บริเวณ
            ระบบกําจัดขยะมูลฝอย ทําให้ต้องปิดและไม่สามารถเปิดใช้งานระบบกําจัดขยะมูล ฝอยต่อไปได้
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105