Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแนวทางการช่วยเหลือประชาชน ล่าสุด มี 3 อำเภอที่ได้รับผลกระทบและรายงานขอความช่วยเหลือแล้ว

images show
จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 1   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 2   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 3   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 4   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 5   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 6   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 7   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 8   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 9   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 10   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 11   จังหวัดสุราษฎร์ธานีประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อหารือแน ... พารามิเตอร์รูปภาพ 12

 

วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30 น. ที่ห้องนางยวน ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง และ ฝนทิ้งช่วง ผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งพื้นที่การเกษตรและ การขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค โดยปัจจุบัน มี 3 อำเภอ ได้จัดส่งรายงานผลกระทบจากภัยแล้งเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 6 ตำบล 57 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,458 ครัวเรือน กว่า 17,000 คน มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบกว่า 29,000 ไร่ อำเภอบ้านนาสาร มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 12 ตำบล 62 หมู่บ้าน 25 ชุมชน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 10,806 ครัวเรือน กว่า 30,000 คน มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบกว่า 8,500 ไร่ และมีสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบ ได้แก่ สะพานน้ำล้น 1 แห่ง ฝาย 4 แห่ง แหล่งน้ำ 3 แห่งและสระน้ำสาธารณะใช้ในการเกษตร 2 แห่ง และ อำเภอบ้านตาขุน มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,312 ครัวเรือน กว่า 1,672 คน มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบกว่า 1,750 ไร่
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้นำเสนอถึงนิยามของภัยแล้ง ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วง รวมถึง ระเบียบปฏิบัติของการจ่ายเงินทดรองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ซึ่งระเบียบการเบิกจ่ายและการช่วยเหลือประชาชน ในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติ กับ การช่วยเหลือเยียวยาเมื่อประกาศเขตภัยพิบัติแล้ว จะมีความแตกต่างกัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำความเข้าใจ ซักซ้อมแนวปฏิบัติกับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามระเบียบราชการ
นอกจากนี้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี ยังได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำระยะไกล เพื่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำมายังพื้นที่ขาดแคลน และเตรียมความพร้อมเครื่องจักรที่มีอยู่ รวมถึงขอสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากจังหวัดอื่น เพื่อเตรียมให้ความช่วยเหลือพื้นที่ที่ร้องขอมา ซึ่งหากท้องถิ่นหรืออำเภอใดไม่มีงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ ก็สามารถเสนอขอรับการสนับสนุน มายังคณะกรรมการ ก.ช.ภ.จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่ออนุมัติการช่วยเหลือ ขณะที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ได้มาตั้งศูนย์ปฏิบัติการที่ กองบิน 7 ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2567 และขึ้นบินทำฝนหลวงต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยต่อไป

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!