Accessibility Tools

A A A

facebook  youtube

  • หน้าแรก
  • ข่าวสารและประกาศ
  • ข่าวผู้บริหาร
  • คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ติดตามแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ติดตามแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

images show
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 1   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 2   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 3   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 4   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 5   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 6   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 7   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 8   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 9   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 10   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 11   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 12   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 13   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 14   คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญห ... พารามิเตอร์รูปภาพ 15

 

วันที่ 24 เมษายน 2567

นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับ นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ประธานคณะกรรมธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อันเนี่องมาจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการฯ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตลอดจน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมนำเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี การบริหารจัดการน้ำ และสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ห้องประชุมเขื่อนรัชชประภา อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งล่าสุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ในระดับเสี่ยงน้อยมาก จำนวน 126 ตำบล 838 หมู่บ้าน จากทั้ง 19 อำเภอของจังหวัด แบ่งเป็นความเสี่ยงเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค จะมีพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ คือ อำเภอเกาะสมุยและเกาะพะงัน ส่วนฝั่งแผ่นดินใหญ่ มี 9 อำเภอ ได้แก่ กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก บ้านนาสาร พระแสง เวียงสระ ไชยา ท่าฉาง ท่าชนะ และอำเภอพนม มีพื้นที่การเกษตรเสี่ยงได้รับผลกระทบ (ความเสี่ยงน้อย) ราว 204,000 ไร่ จากพื้นที่การเกษตรราว 4.4 ล้านไร่

อย่างไรก็ตาม ด้านสถานการณ์น้ำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากมี อ่างเก็บน้ำ/เขื่อนขนาดใหญ่ 1 แห่ง ได้แก่ ปริมาณน้ำเขื่อนรัชชประภา ปริมาณน้ำเก็บกัก 5,639 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำปัจจุบัน 3,831 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 67.9 % ปริมาณน้ำใช้งานได้ 2,480 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 57.8 % มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประมาณ 490 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนพื้นที่แม่น้ำพุมดวง มีปริมาณน้ำเฉลี่ย 5,900 – 6,600 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ยังมีปริมาณน้ำเพียงพอ ขณะที่ แหล่งน้ำขนาดกลาง/เล็ก ทั้งอ่างเก็บน้ำ ฝาย และ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ มี 1,558 แห่ง ปริมาณเก็บกัก 5,678.64 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำที่สามารถใช้ได้ 3,700 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 65 % อย่างไรก็ตาม ล่าสุด พื้นที่สูงและพื้นที่ห่างไกล เริ่มขาดน้ำอุปโภค และพื้นที่การเกษตรหลายพื้นที่โดยเฉพาะสวนผลไม้เริ่มขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเพราะมีการปลูกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ทำให้ปริมาณน้ำที่ใช้ไม่เพียงพอต่อภาคการเกษตร รวมถึงแหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาหมู่บ้านหลายแห่ง ระดับน้ำลดลงมาก บางแห่งเริ่มผลิตน้ำประปาหมู่บ้านไม่ได้ บางแห่งต้องสลับการจ่ายน้ำ เป็นช่วงเวลาเพื่อให้น้ำเพียงพอ
แนวทางการบรรเทาความเดือดร้อนและการแก้ไขปัญหารยะสั้น ประกอบด้วย การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกแจกจ่ายน้ำอุปโภค โดยใช้รถบรรทุกน้ำแจกจ่าย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนเครื่องสูบน้ำระยะไกลเพื่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำ มาเติมในบ่อน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน ส่วนในพื้นที่เกาะ ศรชล. และ ทัพเรือภาค 2 ได้จัดเตรียมเรือหลวงเพื่อบรรทุกน้ำไปส่งพื้นที่เกาะที่ขาดแคลนน้ำขณะที่ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ได้ทำฝนหลวงในช่วงอากาศที่เหมาะสมอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือประชาชนนอกเขตชลประทาน

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th