วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องเมืองคนดี ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชั้น 5
นายประเวศ ไทยประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ประธานการคณะกรรมการ ศอ.ปส.จ.สฎ.และส่วนราชการ ครั้งที่ 4/2565 คณะกรรม ได้นำเรื่องเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาดังต่อไปนี้
1 ผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ประจำปีงบประมาณ 2565
1.1 มาตรการป้องกันยาเสพติด
(1) แผนงานสร้างการรับรู้และภูมิคุ้มกันป้องกันยาเสพติด
- สร้างภูมิคุ้มกันเด็กปฐมวัยพัฒนาทักษะทางสมอง
- พัฒนาทักษะชีวิตที่เหมาะสมในสถานศึกษา อายุ 7-12 ปี ทักษะชีวิต/กิจกรรม
เชิงสร้างสรรค์
- ให้ความรู้การป้องกันยาเสพติดที่เหมาะสม มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำรวจค้นหานักเรียนที่มีความเสี่ยง เพื่อการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสมอายุ 13-19 ปี
- เสริมสร้างทักษะในการจัดการชีวิต/ทักษะอาชีพ
- สร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา
(หน่วยงานที่นำเสนอ ศธจ., ท้องถิ่น และ กศน.)แผนงานการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการ
ดังนี้
(1) สถานประกอบการ (ลูกจ้าง 10 คนขึ้นไป)
- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ฯ ในสถานประกอบกิจการ
- สถานประกอบกิจการได้รับ (มยส.)
- โรงงานสีขาว
(2) สถานประกอบการ (ลูกจ้าง 10 คนลงมา)
- สร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในสถานประกอบการเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบโดยอาสาสมัครแรงงาน (อสร.)(หน่วยงานที่นำเสนอ สนง.สวัสดิการฯ และ สนง.แรงงานฯ)
(3) แผนงานการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว ดังนี้
3.1) ส่งเสริมละพัฒนาความร่วมมือของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.)ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในครอบครัวและพัฒนาทักษะของบุตรหลานเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด
3.2) เสริมสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ด้านครอบครัวให้กับกลุ่มเป้าหมายในศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวได้พัฒนาทักษะ
ด้านการดูแลบุตรหลานเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดแผนงานการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของหมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนหมู่บ้าน/ชุมชนไม่มีปัญหา (รักษาสภาพ)หมู่บ้าน/ชุมชน (ที่พบผู้เสพในหมู่บ้าน/ชุมชน) นำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
- หมู่บ้าน/ชุมชน (มีผู้ค้าในหมู่บ้าน) ดำเนินการสืบสวนจับกุม) และใช้กระบวนการ หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งหมู่บ้าน/ชุมชน (มีทั้งผู้เสพ ผู้ค้า)ดำเนินการค้นหาผู้เสพนำเข้าบำบัดรักษาสืบสวนจับกุมผู้ค้า) และใช้กระบวนการ หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง(หน่วยงานที่นำเสนอ ที่ทำการปกครองจังหวัด)
2. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ ม./ช. กองทุนแม่ของแผ่นดิน
ช่อมเสริมหมู่บ้านกองทุนแม่ๆ เพื่อพัฒนาและยกระดับความเข้มแข็งตามกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดินส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทุนแม่ของแผ่นดินดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
ขยายหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินใหม่(หน่วยงานที่นำเสนอ สนง.พัฒนาชุมชน)
1.2 มาตรการบำบัดรักษา
การบำบัดรักษา
1) บำบัดรักษาและฟื้นฟู
2) ระบบบำบัดทางเลือก ลดอันตรายจากยาเสพติด Harm Reduction
3) -ตรวจปัสสาวะ
(หน่วยงานที่นำเสนอสนง.สาธารณสุขจังหวัด)
1.3 มาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย
1) การสกัดกั้นปริมาณยาเสพติดเปรียบเทียบกับปริมาณยาเสพติดที่จับกุมทั้งจังหวัด
2) หมายจับฐานความผิดสมคบ สนับสนุนและช่วยเหลือในคดียาเสพติด
3) มูลค่าทรัพย์สินที่ดำเนินการตามความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ยึด อายัต (หน่วยงานที่นำเสนอ ตำรวจภูธรจังหวัด)
1.4 มาตรการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ
- กำหนดแผนงาน บูรณาการงบประมาณ การบริหารและจัดการงบประมาณ(หน่วยงานที่นำเสนอ ศอ.ปส.จ.สฎ.)