Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

จังหวัดสุราษฎร์ธานีติดตามและพิจารณาแผนงาน/โครงการของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาเชิงพื้นที่

วันที่ 18 มีนาคม 2564

นายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 อุตสาหกรรมจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด ตัวแทนผู้ประกอบการ/โรงงาน/ลานเท เกษตรกร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานีสู่ปาล์มคุณภาพ โดยที่ประชุมได้ติดตามผลการตรวจเยี่ยมเกษตรกร ลานเท และโรงานสกัดน้ำมันปาล์มของคณะกรรมการระดับอำเภอ ให้เป็นไปตามประกาศจังหวัด ในการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เพื่อระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้านปาล์มน้ำมัน ซึ่งผลการตรวจเยี่ยมเกษตรกร ลานเท และโรงานสกัดน้ำมันปาล์มในภาพรวมพบว่า ดำเนินการตามประกาศจังหวัด แต่มีลานเทบางแห่งไม่ได้ปิดป้ายประกาศจังหวัด และช่วงที่ผลผลิตน้อยการขนส่งทะลายปาล์มจะดำเนินการขนส่ง 2 วัน/ครั้ง ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันไตรมาสที่ 2 – 3 ปี 2564 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 พยากรณ์การผลิต ปี 2564 จากเนื้อที่ยืนต้น 1,365,586 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 1,335,586 ไร่ ผลผลิต 3,885,220 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 2,909 กิโลกรัม โดยปริมาณการขายผลผลิต ไตรมาส 2 จำนวน 1,167,120 ตัน ไตรมาส 3 จำนวน 1,090,390 ตัน ส่วนปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์ม จากการออกตรวจของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดฯ และผู้เกี่ยวข้อง พบว่า ปริมาณสต็อกคงเหลือน้ำมันปาล์มดิบ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 25,363.423 ตัน ลดลงจากเดือนมกราคม ร้อยละ 39.15 ขณะที่ปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือทั้งหมด เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 96,208 ตัน ลดลงจากเดือนมกราคม ร้อยละ 31.92

ณ ห้องประชุมตาปี ชั้น4 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

จ.สุราษฎร์ธานีขับเคลื่อนปาล์มน้ำมันคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนกลไกบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มระดับจังหวัด

วันที่ 17 มีนาคม 2564

นายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 อุตสาหกรรมจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด ตัวแทนผู้ประกอบการ/โรงงาน/ลานเท เกษตรกร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานีสู่ปาล์มคุณภาพ โดยที่ประชุมได้ติดตามผลการตรวจเยี่ยมเกษตรกร ลานเท และโรงานสกัดน้ำมันปาล์มของคณะกรรมการระดับอำเภอ ให้เป็นไปตามประกาศจังหวัด ในการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เพื่อระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้านปาล์มน้ำมัน ซึ่งผลการตรวจเยี่ยมเกษตรกร ลานเท และโรงานสกัดน้ำมันปาล์มในภาพรวมพบว่า ดำเนินการตามประกาศจังหวัด แต่มีลานเทบางแห่งไม่ได้ปิดป้ายประกาศจังหวัด และช่วงที่ผลผลิตน้อยการขนส่งทะลายปาล์มจะดำเนินการขนส่ง 2 วัน/ครั้ง ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันไตรมาสที่ 2 – 3 ปี 2564 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 พยากรณ์การผลิต ปี 2564 จากเนื้อที่ยืนต้น 1,365,586 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 1,335,586 ไร่ ผลผลิต 3,885,220 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 2,909 กิโลกรัม โดยปริมาณการขายผลผลิต ไตรมาส 2 จำนวน 1,167,120 ตัน ไตรมาส 3 จำนวน 1,090,390 ตัน ส่วนปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์ม จากการออกตรวจของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดฯ และผู้เกี่ยวข้อง พบว่า ปริมาณสต็อกคงเหลือน้ำมันปาล์มดิบ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 25,363.423 ตัน ลดลงจากเดือนมกราคม ร้อยละ 39.15 ขณะที่ปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือทั้งหมด เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 96,208 ตัน ลดลงจากเดือนมกราคม ร้อยละ 31.92

ณ ห้องประชุมนางยวน ชั้น5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

จ.สุราษฎร์ธานีเสริมสร้างเครือข่ายเยาวชนและประชาชนร่วมปกป้องผืนป่าและทรัพยากรธรรมชาติ

วันที่ 17 มีนาคม 2564

นายวินายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปิดและมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ “เยาวชนและประชาชนร่วมปกป้องผืนป่าและทรัพยากรธรรมชาติ” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 17 มีนาคม 2564 ณ วิทยาลัยการอาชีพไชยา หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้ความร่วมมือของ กอ.กรม.จ.สุราษฎร์ธานี หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพไชยา คณะบุคลากร วิทยากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้อง

ณ วิทยาลัยการอาชีพไชยา หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

จ.สุราษฎร์ธานีส่งมอบสารอัลตร้ากรีน แคลเซียมคาร์บอนเนตชนิดน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา หลังพบพื้นที่ระบาดแล้วกว่า 2,000 ไร่

วันที่ 17 มีนาคม 2564

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีรับและส่งมอบสารอัลตร้ากรีน แคลเซียมคาร์บอนเนตชนิดน้ำ เพื่อใช้ทดสอบการแก้ไขปัญหาภาวะโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดขึ้น ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลคลองไทร อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังพบการเกิดโรคใบร่วงในสวนยางพาราจากเชื้อราชนิดใหม่ ที่มีความรุนแรงและการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยมีพื้นที่ที่เกิดการระบาดมากที่สุดในประเทศไทย คือจังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ระบาดกว่า 730,000 ไร่ ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ระบาดของโรคดังกล่าวแล้ว ประมาณ 2,000 ไร่ โดยมีการระบาดของโรคในช่วงกลางปี 2563 ที่ผ่านมา ในการนี้สภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับแจ้งจากเกษตรกรชาวสวนยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงความเดือดร้อนจากการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำยางลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว และโรคชนิดนี้ยังมีผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ เช่น พืชผักที่ปลูกแซมในสวนยางหรือพืชที่อยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย ซึ่งจากปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร สภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประสานงานกับมูลนิธิอุษรินทร์ ซึ่งมีสารอัลตร้ากรีน แคลเซียมคาร์บอร์เนตชนิดน้ำ ซึ่งใช้ได้ผลในโรคใบด่างของมันสำปะหลัง และได้ทดลองใช้ในสวนยางพาราแล้ว มีผลให้ปริมาณน้ำยางและเปอร์เซ็นต์ยางแห้ง(DRC) เพิ่มขึ้น

ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลคลองไทร อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!