Accessibility Tools

A A A

messenger  facebook  youtube

Google Translate Widget by Infofru

Author Site Reviewresults

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 4/2567


วันที่ 14 พฤษภาคม 2567  เวลา 13.30 น.
นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานธนารักษ์พื้นที่สุราษฎร์ธานี เพื่อพิจารณากำหนดราคาประเมินที่ดินเพิ่มเติม กรณีแปลงที่ดินแบ่งแยกใหม่และยังมิได้กำหนดราคาประเมินที่ดิน รอบบัญชี พ.ศ.2566 - 2569 โครงการ เดอะทาม ตั้งอยู่ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จำนวน 60 แปลง โครงการหมู่บ้านแกรนด์พารากอน หนองขรี ตั้งอยู่ตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน จำนวน 91 แปลง และพิจารณาการคัดค้านราคาประเมินที่ดินในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 2 ราย
   

จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 3/2567

 

วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมตาปี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชุมคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 3/2567 พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อพิจารณาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้งปี 2567/2568 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจังหวัดตรวจสอบแผนงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้งปี 25672568 ผ่านระบบ Thai Water Plan พบว่า มีหน่วยงานเสนอโครงการเพื่อดำเนินการในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นโครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมต่าง ๆ เป็นหน่วยรับงบประมาณ จำนวน 59โครงการ วงเงิน 291,664,500 บาท

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า สำหรับขั้นตอน Sign off 2 ประธานคณะอนุกรรมการจังหวัดจะต้อง ดำเนินการยืนยันนำส่งชัอมูลแผนงานโครงการฯ ภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ซึ่งสามารถจำแนกตามแผนแม่บทฯ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ ๑ การจัดการน้ำ อุปโภคบริโภค จำนวน 34 โครงการ ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตจำนวน 19 โครงการ ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย จำนวน 3 โครงการ และต้านที่ 4 การอนุรักษ์และพ้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ จำนวน 3 โครงการ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป.

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ ๓/๒๕๖๗


วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น.ณ ห้องประชุม ชั้น ๓ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายสุคนธ์ หนูภักดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งที่ ๓/๒๕๖๗ เพื่อพิจารณาตามระเบียบวาระประชุมฯให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่กำหนด ดังนี้
๔.๑ เรื่อง การเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔.๒ เรื่อง การขออนุญาตการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว
๔.๓ เรื่อง การขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๔.๔ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้กีฬาเป็นฐาน
๔.๕ เรื่อง แนวทางปฏิบัติการปลูกฝังความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

จังหวัดสุราษฎร์ธานีคุมเข้มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับของเสียอันตรายและโรงงานอื่นที่มีความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม ป้องกันเหตุซ้ำรอยกรณีเพลิงไหม้โกดังเก็บกากของเสียและสารเคมีอันตรายที่จังหวัดระยอง

 

วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30 น.

นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการระดับจังหวัดตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่รับดำเนินการของเสียอันตราย รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมตาปี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อหารือและพิจารณาวิเคราะห์โรงงานตามกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงพร้อมจัดลำดับ และพิจารณากำหนดแผนลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง

ทั้งนี้เนื่องด้วยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานกรณีการขนย้ายและจัดการกากอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนแคดเมียมที่กระจายอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร กลับไปกำจัดที่จังหวัดตาก และผลกระทบจากกรณีเพลิงไหม้โกดังเก็บกากของเสียอันตรายและสารเคมีอันตรายจังหวัดระยอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างความกังวลเป็นวงกว้างต่อสังคม จึงต้องมีการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการรับดำเนินการของเสียอันตรายและโรงงานอื่นที่มีความเสี่ยง เพื่อนำไปสู่การกำกับ ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหา ไม่ให้เกิดสถานการณ์ซ้ำรอย

สำหรับการประชุมครั้งนี้ ได้มีการติดตามข้อมูลโรงานกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 โรงานที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 60 ได้แก่ โรงานประกอบกิจการเกี่ยวกับถลุง ผสม ทำให้บริสุทธิ์ หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตโลหะในขั้นต้นซึ่งไมใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า กลุ่มที่ 2 โรงงานที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 106 ได้แก่ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว หรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม กลุ่มที่ 3 โรงงานที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ โรงงานเคมีภัณฑ์ โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี โรงงาน ดอกไม้ไฟ และโรงงานห้องเย็น กลุ่มที่ 4 โรงานอื่นๆ ที่มีประวัติเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ สารเคมีรั่วไหล ส่งผลกระทบ เป็นวงกว้าง หรือถูกร้องเรียนปัญหามลพิษซ้ำซาก และยังไม่ได้รับการแก้ไข และกลุ่มที่ 5 สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานแต่เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และโกดัง/สถานที่เก็บวัตถุอันตราย.

Copyright © 2021  www.suratthani.go.th

AChecker accessibility checker compliance: WCAG 2.0 (Level AAA) Valid CSS!